โรคซึมเศร้า คืออะไร? พร้อมแบบทดสอบว่าเรามีความเสี่ยงเป็น#โรคซึมเศร้าหรือไม่?

“โรคซึมเศร้า” อาจจะเป็นคำที่หลายคนได้ยินบ่อยในช่วงนี้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักถึงตัวตนของมันจริงๆ วันนี้ Zcooby ขอแนะนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุ อาการ แนวทางการรักษาหรือป้องกัน พร้อมทั้งแบบทดสอบว่าเรามีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

โรคซึมเศร้า คืออะไร?

หากพูดถึงคำว่า “ซึมเศร้า” คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสีย มากกว่าการจะคิดว่าเป็นโรค

ซึ่งจริงๆ แล้ว โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย

แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้า เป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง

ในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน

โรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป อารมณ์ที่หลายหลายของโรคซึมเศร้า ได้แก่

  1. โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression) โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้ จะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าสลดอย่างมาก จนไม่มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยทำให้กลับมามีความสุขสดชื่นเหมือนเดิม ดังนั้นควรเริ่มรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยไม่ให้โรคซึมเศร้าแบบนี้มีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกด้วย
  2. โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression) ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้ จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก แต่เป็นอย่างต่อเนื่องนานกว่า นั่นคือ จะมีอาการอย่างน้อย 2 ปี แต่มักจะนานกว่า 5 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่ป่วยจะมีอารมณ์ผิดปกติสลับไปด้วย
  3. โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ ดิสออร์เดอร์ (Bipolar disorder) ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า ชนิดนี้บางรายจะมีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้าสลับกับอาการลิงโลด โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างกัน หรือ ต่างขั้วกัน โดยซึมเศร้าชนิดนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจและมักก่อให้เกิดปัญหา เช่น การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย หรือตัดสินใจผิดๆ และอาจมีความคิดฆ่าตัวตายในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าได้

อาการของผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

หากตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการ หรือมากกว่า

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้า (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้)
  2. ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก
  3. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
  4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
  5. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
  6. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า
  8. สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
  9. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
  • * ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ
  • * ต้องมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ เป็นเพียงแค่วันสองวันหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่

การรักษาโรคซึมเศร้า

หากพบหรือสงสัยว่าตนเองและคนใกล้ตัวคุณป่วยด้วยโรคซึมเศร้า อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรพามาปรึกษาแพทย์ เพราะหากได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้องด้วยวิธีที่เหมาะสม

แบบทดสอบว่าเรามีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

ข้อ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ท่านมีอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน?
ไม่มีเลย
0 คะแนน
เป็นบางวัน (1-7 วัน)
1 คะแนน
เป็นบ่อยมากกว่า 7 วัน
2 คะแนน
เป็นทุกวัน
3 คะแนน
1 เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไร
2 ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3 หลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ หรือหลับมากไป
4 เหนื่อยง่าย หรือ ไม่ค่อยมีแรง
5 เบื่ออาหาร หรือ กินอาหารมากเกินไป
6 รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลว หรือทำให้ตนเองหรือครอบครัวผิดหวัง
7 สมาธิไม่ดี เวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานที่ต้องใช้ความตั้งใจ
8 พูดช้า ทำอะไรช้าลงจนคนอื่นสังเกตได้ หรือ กระสับกระส่าย ไม่สามารถอยู่นิ่งได้อย่างที่เคยเป็น
9 คิดทำร้ายตัวเอง หรือคิดว่า ถ้าตัวเองตายไปก็คงจะดี

คะแนนรวมและการแปลผล

คะแนนรวม การแปลผล
5-8 มีอาการซึมเศร้าเล็กน้อย
9-14 เป็นโรคซึมเศร้า ระดับเล็กน้อย
15-19 เป็นโรคซึมเศร้า ระดับปานกลาง
20 คะแนนขึ้นไป เป็นโรคซึมเศร้า ระดับรุนแรง
อย่าลืมนะครับ  โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ มิใช่แค่เรื่องของความผิดปกติของจิตใจ ที่สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.