“ลิชมาเนีย” โรคติดเชื้อภัยร้ายตัวใหม่

โรคติดเชื้อ “ลิชมาเนีย” อาจจะเป็นโรคที่ไม่คุ้นหูคนไทย หลังจากที่มีข่าวว่ามีการระบาดของโรคลิชมาเนีย หลายคนอาจจะสงสัยและกังวลว่า โรคนี้เป็นอย่างไร? มีการแพร่เชื้อหรือติดต่ออย่างไร พาหะคืออะไร รวมทั้งอาการของผู้ป่วยโรคนี้เป็นอย่างไร วันนี้ Zcooby อยากจะเอาข้อมูลที่น่าสนใจมาแนะนำให้ทราบกันนะครับ

โรคติดเชื้อลิชมาเนียคืออะไร?

โรคติดเชื้อลิชมาเนีย หรือ ลีสนาเนียซิส (Leishmaniasis) เป็นโรคติดต่อ ที่มี “ริ้นฝอยทราย” เป็นตัวพาหะนำโรค โดยริ้นฝอยทรายดูดเลือดสัตว์เป็นอาหาร ไปกัดสัตว์ที่มีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ จากนั้นนำเชื้อไปสู่คน ปกติพบโรคชนิดนี้พบในแถบประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย ปากีสถาน

ที่มาของโรคลิชมาเนีย

เชื้อก่อโรคลิชมาเนียเป็นโปรโตซัวในตระกูล ลิชมาเนีย (Leishmania) ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ทั้งในคนและสัตว์อีกหลายชนิด โดยตัวเชื้อก่อโรคมีมากกว่า 20 ชนิดที่สามารถทำให้เกิดโรคในคนได้ ถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย โดยที่พบสายพันธุ์ไทยให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leishmania siamensis

อาการของผู้ติดเชื้อโรคลิชมาเนีย

อาการภายนอกของผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อลิชมาเนีย จะมีดังนี้

  • มีไข้เรื้อรัง เป็นๆ หายๆ
  • ท้องอืด
  • ตับม้ามโต
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ผิวหนังคล้ำและเกิดรอยโรคที่ผิวหนัง

หากแบ่งตามลักษณะ อาการแสดงของโรคลิชมาเนีย มี 3 ลักษณะ คือ

  • โรคลิชมาเนียที่ผิวหนัง – ผู้ป่วยมีแผลที่ผิวหนังบริเวณที่ถูกริ้นฝอยทรายกัด ลักษณะเป็นแผลขอบนูน ไม่เจ็บ
  • โรคลิชมาเนียที่เยื่อบุ – ผู้ป่วยเป็นแผลบริเวณเยื่อบุจมูกและปาก
  • โรคลิชมาเนียที่อวัยวะภายใน – ผู้ป่วยจะมีอาการตับม้ามโต ซีด ไข้เรื้อรัง และระดับแกมมากลอบูลินในเลือดสูง

วิธีการป้องกันโรคลิชมาเนีย

  1. สวมใส่เสื้อผ้ารัดกุมมิดชิดขณะเข้าไปทำงานหรือพักค้างคืน ในพื้นที่ที่คาดว่ามีริ้นฝอยทรายอาศัยอยู่
  2. ทายากันยุงในบริเวณผิวหนังที่อยู่นอกร่มผ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณขาและแขน
  3. นอนกางมุ้งที่ชุบด้วยสารกำจัดแมลง
  4. ฉีดพ่นสเปรย์กำจัดยุงและแมลงภายในบ้าน
  5. ปรับปรุงดูแลบริเวณที่พักอาศัยให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดจากสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต
  6. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่พักอาศัยและให้สารกำจัดแมลงบนตัวสัตว์ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.