มงแต็สกีเยอ คือใคร? พร้อมประวัติของนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศส

“มงแต็สกีเยอ” เป็นชื่อที่ถูกอดีตนายก ทักษิณ ชินวัตร กล่าวถึงในทวิตเตอร์ ทำให้หลายคนสงสัยว่า มงแต็สกีเยอ คือใคร? วันนี้ Zcooby ขอแนะนำประวัติและผลงานที่น่าสนใจของบุคคลท่านนี้นะครับ

Montesquieu once said “There is no crueler tyranny than that which is perpetuated under the shield of law and in the name of the justice.”

มงแต็สกีเยอ คือใคร?

มงแต็สกีเยอ เป็นชื่อของเป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศส ผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ

และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่า ระบบเจ้าขุนมูลนาย (feudalism) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantium) ใช้กันอย่างแพร่หลาย

มงแต็สกีเยอถือว่าเป็นหนึ่งในนักปรัชญาแถวหน้าของมานุษยวิทยาร่วมกับเฮโรโดตุสและแทซิทัส ที่เป็นหนึ่งในบุคคลกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่ตีแผ่ข้อเปรียบเทียบของกระบวนการจำแนกรูปแบบทางการเมืองในสังคมมนุษย์

ประวัติของมงแต็สกีเยอ

ชื่อจริง : ชาร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งแบรดและมงแต็สกีเยอ

ชื่อที่เป็นที่รู้จัก : มงแต็สกีเยอ

เกิด: 18 มกราคม ค.ศ. 1689 ฌีรงด์ ประเทศฝรั่งเศส

ตาย: 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1755 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

อายุรวม : 66 ปี

แนวคิดเด่น : การแบ่งแยกอำนาจออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร, อำนาจตุลาการ

ผลงานที่สำคัญของ มงแต็สกีเยอ

ผลงานเขียนที่มีอิทธิพลมากที่สุดของเขาได้แบ่งแยกฝรั่งเศสออกเป็นสามชนชั้นได้แก่ พระมหากษัตริย์, อภิสิทธิ์ชน และประชาชนทั่วไป แล้วเขายังมองเห็นรูปแบบอำนาจของรัฐออกเป็นสองแบบคืออำนาจอธิปไตยและอำนาจบริหารรัฐกิจ ซึ่งอำนาจบริหารรัฐกิจประกอบด้วยอำนาจบริหาร, อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ โดยแต่ละอำนาจควรเป็นอิสระและแยกออกจากกัน ทำให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งไม่สามารถก้าวก่ายอีกสองอำนาจที่เหลือหรือรวมกันเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จได้

ในยุคนั้น แนวคิดแบบนี้จะถูกพิจารณาว่าเป็นแนวคิดหัวรุนแรง เพราะหลักการของแนวคิดดังกล่าวเท่ากับเป็นการล้มล้างการปกครองของฝรั่งเศสในสมัยนั้นที่ยึดถือฐานันดรแห่งราชอาณาจักรอย่างสิ้นเชิง โดยฐานันดรแห่งรัฐประกอบด้วยสามฐานันดรคือ เคลอจี, อภิสิทธิ์ชนหรือขุนนาง และประชาชนทั่วไป ซึ่งฐานันดรสุดท้ายมีผู้แทนในสภาฐานันดรมากที่สุด และท้ายที่สุดแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่ทำลายระบบฟิวดัลในฝรั่งเศสลง

ขณะเดียวกันมงแต็สกีเยอได้ออกแบบรูปแบบการปกครองออกเป็นสามแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบถูกสนับสนุนด้วย หลักการทางสังคม ของตัวมันเอง ได้แก่

  • ราชาธิปไตย (รัฐบาลอิสระที่มีประมุขเป็นบุคคลอันสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ เช่น กษัตริย์, จักรพรรดิ หรือราชินี) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของเกียรติยศ
  • สาธารณรัฐ (รัฐบาลอิสระที่มีประมุขเป็นบุคคลที่ได้รับเลือกจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของคุณธรรม
  • เผด็จการ (รัฐบาลกดขี่ที่มีประมุขเป็นผู้นำเผด็จการ) เป็นระบอบที่ยึดถือบนหลักการของความยำเกรง

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.