โรคติดมือถือ (Nomophobia) คืออะไร? สัญญาณที่จะบอกว่าคุณติดมือถือเกินไปแล้ว

ในยุคปัจจุบัน การใช้มือถือนั้นเปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนในสังคมเลยทีเดียว จนหลายครั้งบางคนอาจจะมีอาการเหมือนติดมือถืออยู่ตลอดวเวลา วันนี้ Zcooby ขอแนะนำลักษณะของ “โรคติดมือถือ” (Nomophobia) มาดูกันว่า คุณเข้าข่ายอาการติดมือถือหรือไม่ครับ

โรคติดมือถือ (Nomophobia) คืออะไร?

โรคติดมือถือ หรือโรคโนโมโฟเบีย (nomophobia) นั้นมาจากคำว่า “no mobile phone phobia” เป็นศัพท์ที่ํทาง You Gov บัญญัติขึ้นเพื่อเรียกอาการติดโทรศัพท์มือถืออย่างหนัก

ผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น จะมีอาการหงุดหงิดง่าย ตัวสั่น เหงื่อออก เมื่อมือถือหาย ไม่มีสัญญาณ หรือว่าแบตหมด

Nomophobia

อาการที่เข้าข่ายว่าคุณเป็นโรคติดมือถือ

  • ไม่เคยอยู่ห่าง มือถือเลย ไม่งั้นจะหงุดหงิดทันที
  • เมื่อได้ยินเสียงแจ้งเตือน จะทิ้งทุกอย่างทันที เพื่อหยิบโทรศัพท์มือถือมาดู
  • เช็คโทรศัพท์มือถือทั้งวัน อัพเดทเรื่องราวบน Social Media ตลอดเวลา
  • หลังจากตื่นนอนจะกดโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับแรก
  • จะรู้สึกกระวนกระวายใจมากถ้าหาโทรศัพท์ไม่เจอ
  • ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย
  • สนใจแต่หน้าจอโทรศัพท์ จนไม่มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

ผลที่ตามมาจากอาการโรคติดมือถือ

  • นิ้วล็อก เกิดจาการใช้นิ้วในการพิมพ์หรือใช้มือถือมากเกินไป
  • สายตาล้า เนื่องจากการเพ่งมองหน้าจอนานเกินไปในแต่ละวัน
  • โรคอ้วน เกิดจากการจดจ่อแต่การใช้มือถือ ไม่ออกกำลังกาย
  • ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ จากการอยู่ในท่าใช้มือถือเดิมๆ
  • หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัย เนื่องจากการอยู่ในท่าเดิมนานๆ

วิธีการแก้ไขจากโรคติดมือถือ

  1. พยายามใช้โทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็น
  2. หากิจกรรมอื่นทำ เพื่อลดการใช้มือถือ
  3. มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น เพื่อน คนรัก หรือครอบครัว เพื่อหลีกเลี่ยงความเหงาที่อาจทำให้เราโหยหาโทรศัพท์มือถือ
  4. หากรู้สึกว่าอาการหนัก จนไม่สามารถอยู่ห่างโทรศัพท์มือถือได้เลย ให้รีบไปพบจิตแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไขโดยด่วน

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.