พระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ปีพ.ศ.2542 กรณีวัดธรรมกาย (เนื้อหา)

หลังจากที่มีกรณีที่ว่า “พระลิขิต”ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งลงวันที่ 26 เมษายน 2542 นั้น มีผลให้พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย นั้นเป็นปาราชิกขาดจากความเป็นภิกษุหรือไม่? วันนี้ Zcooby เลยอยากจะขอเอาข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาในจดหมายฉบับนั้นมาแชร์ พร้อมกับความหมายของ

พระลิขิตคืออะไร?

พระลิขิตคือ “จดหมาย” ครับ เป็นคำนามที่ใช้กับพระภิกษุ แต่สำหรับสมเด็จพระสังฆราชจึงใส่ราชาศัพท์คำว่า ” พระ ” เข้าไปด้วย

ดังนั้นจดหมายจึงมีหลายแบบทั้งแบบเป็นทางการ และแบบส่วนตัว ซึ่งพระลิขิตก็เช่นเดียวกัน มีทั้งแบบเป็นทางการ และแบบส่วนพระองค์ อย่างพระลิขิตในภาพประกอบนี้ ก็ไม่ได้เป็นพระลิขิตอย่างเป็นทางการ หากเป็นพระลิขิตส่วนพระองค์

พระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช 2542

เนื้อหาพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ปีพ.ศ. 2542

ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำทรงสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไป กลายเป็นสอง มีความเข้าใจความเชื่อถือพระพุทธศาลนาตรงกันข้าม เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำสงฆ์ให้แตกแยกเป็นอนัตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบัน และอนาคต ที่หนัก

ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการทำที่ถูกต้อง คือต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็นพระ ให้แก่วัด ทันที ( 5 เมษายน พ.ศ.2542)

ไม่คิดให้มีโทษ เพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ให้ ว่าในขั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนาถือเอาสมบัติของวัดเป็นของตนจริงๆ แต่เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระ ให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้ง ว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศานา

(สมเด็จพระญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
26 เมษายน พ.ศ.2542

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.