ไพรมารี่โหวต คืออะไร? ข้อดีข้อเสียของแนวทางการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ในประเทศไทย

ในช่วงนี้ถ้าใครที่ได้ติดตามข่าวสารการเมือง จะได้ยินคำหนึ่งบ่อยๆ ในช่วงนี้ก็คือคำว่า หลายคนอาจจะสงสัยว่า มันคืออะไร มีรูปแบบอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง วันนี้ Zcooby ขอนำเสนอแบบเข้าใจง่ายๆ มาฝากนะครับ

ไพรมารี่โหวต คืออะไร?

“ไพรมารี่โหวต” (Primary vote) ถ้าแปลแบบตรงตัว จะแปลได้ว่า “เลือกก่อน”

หากจะให้เห็นถึงความหมายของคำนี้มากขึ้น ก็น่าจะเป็นดังนี้ครับ

Primary Vote หมายถึง การเลือกตั้งขั้นต้นที่สมาชิกของพรรคทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกคนที่เสนอตัวเป็นผู้สมัคร หรือแคนดิเดตของพรรค ให้ได้รับสิทธิจากชัยชนะ เพื่อไปเป็นตัวแทนในการลงเลือกตั้ง เป็นวิธีการเลือกตั้งขั้นต้นที่นิยมกันมากที่สุด

 

รูปแบบของ “ไพรมารี่โหวต” (Primary vote)

รูปแบบของไพรมารี่โหวตที่นิยมใช้ส่วนใหญ่มี 2 แบบคือ แบบปิด และแบบเปิด

  1. แบบปิด คือ ให้สิทธิสมาชิกพรรคเท่านั้นที่มีสิทธิลงคะแนน
  2. แบบเปิด คือทุกคนลงคะแนนได้หมดไม่ว่าจะเป็นสมาชิกพรรคหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้ทำให้ทุกคนมีโอกาสลงความเห็นก่อนว่าจะเอาใครลงสมัครเลือกตั้ง

ไม่ว่าจะเป็นแบบปิดหรือแบบเปิด ผู้มีสิทธิ์ทุกคนนั้นจะมีสิทธิ์เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยตนเอง โดยรายชื่อที่พรรคกำหนดมา ชอบคนไหนเลือกคนนั้น ใครได้คะแนนมากสุดก็เอามาลงสมัครอย่างเป็นทางการ

ข้อดีของการใช้ “ไพรมารี่โหวต” (Primary vote)

  1. ช่วยลดจำนวนผู้สมัครลง โดยการลดจำนวนผู้สมัครหรือคัดสรรผู้สมัครให้มีจำนวนน้อยลง จะเป็นประโยชน์ต่อพรรคเอง ขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ต่อประเทศด้วย
  2. การมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะให้ใครมาเป็นส.ส. ที่เป็นตัวแทนของเรา หรือลงสมัครในนามของพรรคที่เราสังกัดอยู่ โดยปกติถ้าประชาชนไม่ได้เป็นผู้กำหนดว่าใครคือผู้สมัครของพรรค ก็จะเหมือนกับเราไปลงคะแนนเลือกตั้ง 4 ปีครั้ง แต่ไม่ได้มีส.ส.ของเราเองจริงๆ เลย และเราไม่สามารถใช้ส.ส.เป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบายใดๆ ได้ทั้งสิ้น

ข้อเสียของไพมารี่โหวต (Primary vote)

ข้อเสียของระบบนี้ เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทย คือมันมีความโน้มเอียงในการจะกีดกันพรรคเล็กๆ ออกไป โอกาสที่พรรคเล็กๆ จะได้คนไปลงสมัครเลือกตั้งที่มีโอกาสชนะน้อยมาก และไม่ค่อยได้มีโอกาสโผล่ขึ้นมา

ทำให้เป็นปัญหาของประเทศที่ใช้ระบบการเมืองแบบสองพรรคใหญ่ คือทำให้ประชาชนหมดทางเลือก เช่น อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา หากตัวผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่เชื่อในนโยบายของพรรคเดโมแครตและรีพลับลิกัน แต่เชื่อในนโยบายของพรรค X ซึ่งเป็นพรรคเล็ก ก็ทำให้ไม่มีวันที่จะได้เป็น ส.ส.

 

แนวคิดการนำระบบไพมารี่โหวตมาใช้ในประเทศไทย

หากเรามองภาพการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่อดีต จะพบว่า พรรคการเมืองในประเทศไทยไม่เคยเป็นเครื่องมือเชิงนโยบายของประชาชนเลย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน

พรรคการเมืองต่างๆ สามารถทำนโยบายต่างๆ โดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับประชาชน (แม้ว่าจะเรียกว่านโยบายประชานิยม แต่จริงๆ แล้วก็ไม่เคยถาม “ประชาชน” เลย

นโยบายต่างๆ เป็นเรื่องที่ทางพรรคการเมืองคิดเอาเองว่าควรจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้กับประชาชน ซึ่งสุดท้ายก็กลายเป็นนโยบายที่ประชาชนต่อรองไม่ได้

สรุปแล้วประเทศไทยมีการเลือกตั้งมาหลายครั้งหลายหนแล้ว แต่คนไทยยังไม่เคยมีส.ส.ของตัวเองสักคนเดียว จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ตราบเท่าที่เรายังไม่มีระบบเลือกก่อนให้เราเป็นผู้กำหนดผู้สมัคร ส.ส.ทุกคนก็จะเป็นของเจ๊และของเฮียของแต่ละพรรคตลอดไป

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.