นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ครบรอบ 50 ปี การค้นพบนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (28 ม.ค. 61)

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร – ในวันที่ 28 มกราคม 2561 เป็นวันครบรอบ 50 ปี การค้นพบนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ทาง Zcooby ขอแนะนำให้คุณรู้จักกับ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร มากขึ้น

ที่มาของชื่อนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

ชื่อของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง จัดอยู่ในสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำ โดยชื่ออันเป็นเอกลักษณ์ของนกชนิดนี้ เกิดจากการขอพระราชทานนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา (พระยศของสมเด็จพระเทพฯ ในขณะนั้น) มาตั้งเป็นชื่อนกชนิดนี้ เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงเป็นผู้สนพระทัยในเรื่องธรรมชาติวิทยาเป็นอย่างยิ่ง

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง ( White-eyed River-Martin)( ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523

ลักษณะของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีสีดำออกเขียวเหลือบ ตะโพกขาว หางมีขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวแผ่ตรงปลาย วงรอบตาสีขาวหนา ปากสีเหลืองสดออกเขียว ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน แต่นกวัยอ่อนไม่ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมา สีขนออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย พฤติกรรมเป็นที่ทราบน้อยมากรวมถึงแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ คาดว่าเหมือนนกนางแอ่นชนิดอื่นที่บินจับแมลงกินกลางอากาศ และเกาะคอนนอนตามพืชน้ำในฤดูหนาว

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.