ระวังภัยจาก “แมลงก้นกระดก” (ลักษณะอาการ,วิธีการรักษา,วิธีการป้องกัน)

ในช่วงนี้มีหลายคนที่มีอาการผื่นแดงปวดแสบปวดร้อน คล้ายโดนน้ำร้อนลวก นั่นอาจจะเป็นผลพวงจาก “แมลงก้นกระดก” ก็ได้ครับ ทาง Zcooby จึงขอเตือนให้ระมัดระวังแมลงประเภทนี้ให้ดีในช่วงนี้ครับ พร้อมลักษณะอาการ,วิธีการรักษา,วิธีการป้องกันแมลงชนิดนี้ครับ

แมลงก้นกระดก คืออะไร? รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร?

แมลงก้นกระดก

 

ชื่อเรียก : แมลงก้นกระดก, แมลงเฟรซชี่(เพราะพบในเด็กที่อยู่หอมหาวิทยาลัย), ด้วงก้นกระดก, ด้วงก้นงอน, ด้วงปีกสั้น, แมลงน้ำกรด

ชื่อสามัญ : Rove beetle

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paederous fuscipes curtis

รูปร่างลักษณะ : ขนาดความยาวประมาณ0.5-1ซม.ตัวสีดำสลับเหลือง พบช่วงปลายฤดูฝน โดยแมลงก้นกระดกชอบออกมาเล่นไฟ และจะตกอยู่บนพื้นและที่นอน

ลักษณะอาการของผู้โดนพิษจากแมลงก้นกระดก

ผู้โดนพิษส่วนมาก มักจะเกิดจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับตัวแมลงโดยตรง โดยสารในตัวของแมลงที่ชื่อว่า pederin จะทำลายชั้นผิวหนังส่วนบน เกิดแผลไหม้ได้ ปวดแสบปวดร้อน

อันตรายจากแมลงชนิดนี้อย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่โดนพิษไปแล้วจะไม่รู้สึกตัว (คนถูกสารพิษส่วนใหญ่ จะไม่เห็นตัวแมลง) หลังจากนั้นผ่านไป 4-6 ชั่วโมง จึงจะเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ลักษณะของแผลจะเป็นผื่นแดงเป็นทางยาว

15337618_234111303686237_587982815813344142_n

การรักษาผู้โดนพิษจากแมลงก้นกระดก

โดยประคบเย็น, ทา high potency topical steroid และเฝ้าระวังติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

การป้องกันแมลงก้นกระดก

  • ระมัดระวัง ตรวจสอบดูว่า บริเวณใกล้เคียงมีแมลงชนิดนี้อยู่หรือไม่?
  • ก่อนนอนควรสำรวจที่นอน สลัดผ้าปูไม่ให้มีแมลง
  • ถ้าพบอย่าสัมผัสโดยตรง ใช้ผ้าหรือทิชชู่จับทิ้ง
  • กรณีที่แมลงก้นกระดก โดนตัวแล้วต้องรีบล้างน้ำเยอะๆบริเวณผิวหนังที่สัมผัส

 

 

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.