สีเทา คือใคร? พร้อมประวัติและผลงานของ สีเทา เพ็ชรเจริญ ดาราตลกอาวุโส

หลังจากที่มีข่าวการเสียชีวิตของคุณอาสีเทา จากอาการติดเชื้อในกระแสเลือด หลายคนอาจจะอยากทราบประวัติและผลงานของบุคคลท่านนี้ ทาง Zcooby จึงขอนำข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากครับ

สีเทา

สีเทา คือใคร?

สีเทา เพ็ชรเจริญ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ สีเทา มีชื่อจริงว่า จรัล เพ็ชรเจริญ เป็นดาราตลกอาวุโส มีบุคลิกเด่นคือแสดงตลกด้วยหน้าตาท่าทาง ลักษณะหลังโกง พุงป่อง เหมือน “เท่ง” ตัวตลกดาราหนังตะลุง ของทางภาคใต้ และถูกนำบุคลิกไปสร้างเป็นตัวการ์ตูนในแอนิเมชันเรื่อง “แดร็กคูล่าต๊อก โชว์”

ประวัติ สีเทา

ชื่อจริง

ชื่อเดิม : จรัล เพ็ชรเจริญ

วันเกิด : 7 มิถุนายน พ.ศ. 2475

อายุรวม : 84 ปี

ประวัติการแสดง : เริ่มเข้าสู่วงการโดุยชักชวนของเสน่ห์ โกมารชุน ให้เป็นมาเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ และแสดงภาพยนตร์เป็นตัวประกอบในบทตลกเรื่องแรก คือ ฟ้าธรรมาธิเบศร์ นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ ฉายวันที่ 8 มีนาคม 2499 ตามมาด้วย เรื่อง สี่สิงห์นาวี นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ-สุรสิทธิ์ ฉายวันที่ 29 ธันวาคม 2499 เล็บครุฑ นำโดย อมรา อัศวนนท์-ลือชัย นฤนาท ฉายวันที่ 12 พฤษภาคม 2500 และอีกหลายเรื่อง ต่อมาเข้ารับราชการตำรวจ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2520 จนเกษียณอายุราชการ

ชีวิตครอบครัว : สมรสกับยุพิน แก้วประเสริฐ มีบุตรสามคน และมีลูกติดจากภรรยาเก่า 1 คน

สีเทาเคยล้มป่วยจากโรคความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดแตกในสมอง จนเกือบถึงแก่ชีวิตแต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานดอกไม้มาเยี่ยม ซึ่งทำให้สีเทายังสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนี้มาโดยตลอดจนมาถึงช่วงบั้นปลายของชีวิต

ผลงานของสีเทา

ละครโทรทัศน์

  • ชีวิตเปื้อนฝุ่น (2535) ช่อง 7
  • ทายาทอสูร (2535) ช่อง 5 รับเชิญ
  • เจ้าจอม (2535) ช่อง 9 รับเชิญ
  • ละครเร่ (2535) ช่อง 7
  • แก้วสารพัดนึก (2535) ช่อง 7
  • ภูตแม่น้ำโขง (2535) ช่อง 7
  • สุริยาที่รัก (2536) ช่อง 9
  • เกิดแต่ตม (2536) ช่อง 7
  • ภูติสาวเจ้าเสน่ห์ (2536) ช่อง 3
  • บัวแก้วบัวทอง (2536) ช่อง 7
  • จันทโครพ (2536) ช่อง 7
  • วิมานมะพร้าว (2537) ช่อง 7 รับเชิญ
  • กระสือ (2537) รับบท พ่อหมอ ช่อง 7
  • แม่นาคพระโขนง (2537) ช่อง 5
  • ศรีธนญชาย (2538) ช่อง 5
  • ไกรทอง (2538) ช่อง 7
  • ด้วยดวงจิตริษยา (2538) ช่อง 7
  • ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม(2539) ช่อง 7
  • ดารายัณ (2539) ช่อง 5
  • ด้วยแรงอธิษฐาน (2539) ช่อง 7 รับเชิญ
  • โปลิศจับขโมย (2539) ช่อง 3 รับเชิญ
  • เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2539) ช่อง 7
  • มณีนพเก้า (2539) ช่อง 7
  • ดาวเรือง (2539) ช่อง 3
  • ปอบผีฟ้า (2540) ช่อง 7
  • นิรมิต (2540) ช่อง 7
  • รักต้องลุ้น (2540) ช่อง 3
  • น้ำใจแม่ รับบท เป็น หนุยนุ้ย (2540) ช่อง 7
  • เดชแม่ยาย (2541) ช่อง 9
  • คู่รัก 2 ชาติ (2541) ช่อง 3
  • คุณหนูอารมณ์ร้ายกับผู้ชายปากแข็ง (2541) ช่อง 5
  • อีแตน (2541) ช่อง 3
  • พลังรัก (2541) ช่อง 7
  • คุณปู่ซู่ซ่า (2542) ช่อง 7
  • หัวใจมีเงา (2542) ช่อง 3 รับเชิญ
  • สาวน้อยร้อยมายา (2542) ช่อง 7
  • โดดเดี่ยวไม่เดียวดาย (2542) ช่อง 7
  • ผู้ดีอีสาน (2543) เป็น ชัด ช่อง 3
  • ยอดชีวัน (2543) ช่อง 3
  • รัตติกาลยอดรัก (2543) ช่อง 3
  • รักประกาศิต (2543) ช่อง 7
  • ผยอง (ละครโทรทัศน์) (2543) ช่อง 3
  • เรือนนพเก้า (2544) ช่อง 3 รับเชิญ
  • ลางลิขิต (2544) ช่อง 3
  • สุดหัวใจ (2544) ช่อง 3
  • คนทรง-จ้าวแผ่นดิน (2544) รับบทเป็น ตาผัน ช่องไอทีวี
  • ซิงตึ๊ง (2544) ช่อง 3 รับเชิญ
  • เส้นไหมสีเงิน (2545) ช่อง 3
  • มณีเมขลา (2545) ช่อง 3
  • ไก่นา (2545) ช่อง 3 รับเชิญ
  • บ้านนี้ผี (ไม่) ปอบ (2546) ช่อง 3
  • แม่แตงร่มใบ (2546) ช่อง 7
  • ใบสั่งกามเทพ (2546) ช่องไอทีวี
  • เก่งไม่เก่งไม่เกี่ยว (2547) ช่อง 3
  • นางสาวจริงใจ กับนายแสนดี” (2547) ช่อง 7
  • เรือนไม้สีเบจ (2547) ช่อง 3
  • เดือนเดือด (2547) ช่อง 7
  • นกออก (2548) ช่อง 7
  • นางฟ้าไซเบอร์ (2548) ช่อง 3 รับเชิญ
  • หมอผีไซเบอร์ (2548) ช่อง 7
  • ดวง (2549) ช่อง 7
  • รักเราไม่ไฮโซ (2549) ช่อง 3
  • ละครเทิดพระเกียรติ ลูกระนาด (2550) ช่อง 7
  • ผู้กองเจ้าเสน่ห์ (2552) ช่อง 3 รับเชิญในตอน “ผีมีพ่อ”
  • วุ่นวายสบายดี (2555) ช่อง 3
  • ฟ้าจรดทราย (2556) ช่อง 7

ภาพยนตร์

  • ฟ้าธรรมาธิเบศร์ นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ ฉายวันที่ 8 มีนาคม 2499
  • สี่สิงห์นาวี นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ-สุรสิทธิ์ ฉายวันที่ 29 ธันวาคม 2499
  • เล็บครุฑ นำโดย อมรา อัศวนนท์-ลือชัย นฤนาท ฉายวันที่ 12 พฤษภาคม 2500
  • แม่นาคพระโขนง (2502) นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, ปรียา รุ่งเรือง
  • อวสารอินทรีย์แดง (2506)
  • นางเสือดาว (2508)
  • งูผี (2509)
  • นางนวล (2510)
  • กู่การะเวก (2510)
  • สันกำแพง (2511)
  • เปลวเทียน (2512)
  • ไก่แก้ว (2512)
  • หาดใหญ่ใจสู้ (2512)
  • คฤหาสน์รัก (2512)
  • ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512 )
  • น้องรัก (2512)
  • เมืองแม่หม้าย (2512)
  • คมแฝก (2513)
  • ยอดเพชร (2513)
  • ไอ้ยอดทอง (2513)
  • กายทิพย์ (2513)
  • อินทรีทอง (2513)
  • ฝนเหนือ (2513)
  • อีสาวบ้านไร่ (2513)
  • ลูกยอด (2514)
  • แม่ศรีไพร (2514)
  • น้ำใจพ่อค้า (2514)
  • ในสวนรัก (2514)
  • กระท่อมปรีดา (2515)
  • รจนายอดรัก (2515)
  • หัวใจป่า (2515)
  • คุ้มนางฟ้า (2515)
  • แม่งู (2515)
  • แม่นาคอเมริกา (2518)
  • ยอดกระล่อน (2519)
  • เจ้าป้าบ้าจี้ (2521)
  • สาวใช้เจ้าเอ๊ย (2522)
  • เป๋อจอมเปิ่น (2523)
  • ภูตพิศวาส (2523)
  • ไอ้หนังเหนียว (2523)
  • สะดิ้ง (2524)
  • ผีตาโบ๋ (2524)
  • อุ๊ย!..เขิน (2524)
  • ลุยเลอะ (2524)
  • สิงห์สองฝั่ง (2524)
  • กูละเบื่อส์ (2524)
  • ขุนแผน ตอน ปราบจระเข้เถรขวาด (2525)
  • ม.6 (2526)
  • ดวงมันเฮง (2526)
  • ดรุณี 9 ล้าน (2526)
  • ลูกเขยคนเฮง (2527)
  • กิ้งก่ากายสิทธิ์ (2528)
  • กระท่อมใหม่ ทะเลเดิม (2533)
  • ความรักของคุณฉุย 2 ภาค ปัญญาชนคนกะลิง (2536)
  • คู่กรรม 2 (2539)
  • กาเหว่าที่บางเพลง (2537)
  • ถนนนี้หัวใจข้าจอง (2540) รับบทเป็น ภารโรง
  • เรื่องตลก 69 (2542)
  • สุริโยไท (2544) รับบทเป็น พรานช้าง
  • มือปืน/โลก/พระ/จัน (2544) รับบทเป็น หลวงพ่อ
  • ดึก ดำ ดึ๋ย (2546) รับบทเป็น ผู้จัดการประจำโรงแรมเก่า
  • ครูแก (2547)
  • พี่น้องสองเสือ (2547) รับบทเป็น หัวหน้าประจำหมู่บ้าน
  • ภาพยนตร์ญี่ปุ่น เพื่อนช้าง…อาริงาโตะ! (Hoshi ni natta Shonen) (2548) รับบทเป็นครูสอนควาญช้างในจังหวัดเชียงใหม่ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นและวางจำหน่ายทั่วโลก
  • มหา’ลัย เหมืองแร่ (2548)
  • โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง” (2549)
  • สติ สืบ ศพ หรือ ศพไม่เงียบ (2553)
  • หมาแก่ อันตราย (2554) รับบทเป็น หลวงพ่อ
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557) รับบทเป็น โหราธิบดีหงสาวดี

โฆษณา

  • น้ำอัดลม “แฟนต้า” ชุด “สะอึก” (2540)

รางวัล

  • รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จัดโดยชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี พ.ศ. 2548 จากเรื่อง มหา’ลัย เหมืองแร่
  • รางวัลเกียรติยศคนทีวี ในพิธีประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 19 ประจำปี พ.ศ. 2547 ร่วมกับ กำธร สุวรรณปิยะศิริ และอารีย์ นักดนตรี
  • รางวัลเกียรติยศ จากนิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ประจำปี พ.ศ. 2551
  • รางวัลเกียรติยศ ในพิธีประกาศผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 25

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.