ศิลป์ พีระศรี คือใคร? พร้อมประวัติและผลงานของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

หลายคนที่ใช้งาน google ในวันนี้ (15 กันยายน 2559) อาจจะเห็นรูปบุคคลท่านหนึ่ง เมื่อลองคลิ้กเข้าไปดูจะพบว่าชื่อ ศิลป์ พีระศรี หลายคนอาจจะสงสัยว่าท่านคือใคร มีประวัติและความเป็นมาที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง ทาง Zcooby ขอแนะนำข้อมูลและประวัติ พร้อมทั้งผลงานที่น่าสนใจของบุคคลท่านนี้มาฝากนะครับ

%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8%a5%e0%b8%9b%e0%b9%8c_%e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b5

ศิลป์ พีระศรี คือใคร?

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะและมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์ศิลป์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ศิลป์ยังเป็นผู้วางรากฐานที่เข้มแข็งให้แก่วงการศิลปะไทยสมัยใหม่ ให้ลูกศิษย์และนักศึกษามีความรู้ความสามารถในวิชาศิลปะทั้งงานจิตกรรมและงานช่าง มีจุดประสงค์ให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะและสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้ด้วยความสามารถของบุคลากรของตนเอง

ด้วยคุณูปการนี้ศาตราจารย์ศิลป์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยศิลปากรและของประเทศไทย โดยเฉพาะในงานประติมากรรมที่ได้มีผลงานที่โดดเด่นมากมายที่สร้างไว้แก่ประเทศไทย ได้แก่ พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรวมไปถึง พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่วงเวียนใหญ่, พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์ไทยอีกหลายพระองค์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ศาสตรจารย์ศิลป์จงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทยและเป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยในวันที่ 15 กันยายน ของทุกปีจะถือเป็นวันศิลป์ พีระศรี ซึ่งมหาวิทยาลัยจะจัดงานรำลึกขึ้นทุกปีเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของศาสตรจารย์ศิลป์ที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทยหลายประการ

ประวัติของ ศิลป์ พีระศรี

ชื่อจริง : ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

ชื่อเดิม : คอร์ราโด เฟโรชี

วันเกิด: 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เ

เสียชีวิต : 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505

ครอบครัว

เป็นบุตรของนายอาตูโด เฟโรชีและนางซานตินา เฟโรชี ซึ่งประกอบธุรกิจการค้า และเนื่องจากเกิดและอาศัยอยู่ ณ เมืองฟลอเรนซ์ นครแห่งการกำเนิดศิลปะเรอเนซองส์ชื่อก้องของอิตาลี

ความสนใจในศิลปะ

ท่านมีความสนใจในวิชาศิลปะมาตั้งแต่วัยเด็ก คอร์ราโดนั้นมีความสนใจและชื่นชอบในผลงานประติมากรรมของมิเกลันเจโลและโลเรนโซ กีแบร์ตีในมหาวิหารฟลอเรนซ์เป็นอย่างมาก จึงได้สมัครเป็นลูกมือช่วยงานศิลปินที่มีชื่อเสียงตามสตูดิโอต่างๆของเมืองฟลอเรนซ์ เขามีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะศึกษาวิชาศิลปะและเป็นศิลปินให้ได้ อย่างไรก็ตามบิดามารดาของคอร์ราโดกลับไม่เห็นด้วยกับความคิดของเขาเพราะต้องการให้มาสืบทอดธุรกิจของครอบครัวต่อไปมากกว่า แต่คอร์ราโดมีความตั้งใจที่จะศึกษาศิลปะอย่างแรงกล้า จึงได้เก็บสะสมเงินและเข้าศึกษาในสถาบันศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti di Firenze) หลักสูตร 7 ปี ในปีพ.ศ. 2451 และจบการศึกษาในปีพ.ศ. 2458 ในขณะที่มีอายุ 23 ปีด้วยเกียรตินิยมอันดับที่หนึ่ง และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์คอร์ราโดมีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นอย่างสูง ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายและได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์จากรัฐบาลหลายครั้ง อาทิเช่น ผลงานอนุสาวรีย์ผู้กล้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 บนเกาะเอลบา เป็นต้น

ผลงานของ ศิลป์ พีระศรี

ภาพ ชื่อ ที่ตั้ง สร้างเมื่อ ข้อมูล
Italy-1213262 960 720.jpg อนุสาวรีย์ผู้กล้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 เกาะเอลบา ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2465 ศาสตราจารย์ศิลป์ได้รับรางวัลชนะเลิศมอบโดยรัฐบาลอิตาลีจากอนุสาวรีย์นี้
พระบรมราชานุสาวรีย์รัชการที่1.jpg พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ประดิษฐานที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2472 ศาสตรจารย์ศิลป์ได้ปั้นแบบและควบคุมการหล่อด้วยตัวเองที่ประเทศอิตาลี
ThaoSuranaree.jpg อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี นครราชสีมา พ.ศ. 2477 เป็นอนุสาวรีย์ของวีรสตรีไทยที่มีความงดงามและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวโคราช
Democracy monument, Bangkok, Thailand.jpg อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2482 ศาสตราจารย์ศิลป์ปั้นแบบประติมากรรมและควบคุมงานก่อนสร้างทั้งหมด
สวนลุมพินี-ร.6.jpg พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2484 มีขนาด 3 เท่าขององค์จริง แรกเริ่มศาสตราจารย์ศิลป์ออกแบบให้ทรงถือพระมาลา ก่อนจะเปลี่ยนให้สวมพระมาลาในภายหลัง
Bangkok Victory Monument 2.jpg อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2485 ศาสตรจารย์ศิลป์ปั้นและควบคุมการหล่อแประติมากรรมบุคคลทั้งห้าและควบคุมการสร้างอนุสาวรีย์
King taksin.jpg พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2493 มีความโดดเด่นด้วยลักษณะประติมากรรมที่งดงาม มีเอกลักษณ์และสมจริงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะประติมากรรมม้าที่อยู่ในท่ายืนพร้อมวิ่งและถูกสัดส่วนกายวิภาค
อนุสรณ์ดอนเจดีย์.jpg พระบรมราชานุสาสวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2497
Phutthamonthon03.jpg พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2498 สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาเนื่องในเนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศักราชเวียนมาบรรจบครบรอบ 2,500 ปี เป็นผลสำเร็จของการศึกษาศิลปะสุโขทัยอย่างลึกซึ้งของศาสตรจารย์ศิลป์ เกิดการสร้างพระพุทธรูปรูปแบบใหม่ที่ถือเป็นผสมผสานลัทธิสัจจนิยมของตะวันตกเข้ากับศิลปะไทยประเพณีแบบดั้งเดิม ถือเป็นการคงเอกลักษณ์เก่าไปพร้อมกับการสร้างสรรค์รูปแบบศิลปะสมัยใหม่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะไทยสมัยใหม่อย่างแท้จริง

ผลงานประติมากรรม

  • สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (เฉพาะพระเศียร) – ทำจากสำริด ถือเป็นผลงานชิ้นแรกที่ทำให้ศาสตราจาย์ศิลป์เป็นที่รู้จัก
  • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะพระเศียร) – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากหลังได้เห็นพระบรมรูปของพระองค์
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครึ่งพระองค์) – ทำปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล 2 องค์ – ทำปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์
  • พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า – เป็นประติมากรรมนูนต่ำด้วยปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลปแห่งชาติ
  • สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ครึ่งพระองค์) – ทำจากปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
  • สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส (ครึ่งองค์) – ปัจจุบันอยู่มในกรมศิลปากร
  • พระญาณนายก (ปลื้ม จันโทภาโส มณีนาค) วัดอุดมธานี จังหวัดนครนายก – เป็นประติมากรรมนูนสูง ทำจากปูนพลาสเตอร์
  • หลวงวิจิตรวาทการ (ครึ่งตัว) – ทำจากปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กรมศิลปากร
  • ม.ร.ว.สาทิศ กฤดากร (เฉพาะศีรษะ) – ทำจากบรอนซ์ เจ้าของคือม.จ.รัสสาทิศ กฤดากร
  • นางมาลินี พีระศรี (เฉพาะศีรษะ) – ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
  • โรมาโน (ลูกชาย ภาพร่างไม่เสร็จ) – ปัจจุบันอยู่ที่กรมศิลปากร
  • นางมีเซียม ยิบอินซอย (รูปเหมือนครึ่งตัว) – ทำจากบรอนซ์ ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลปแห่งชาติ
  • พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (เฉพาะพระเศียร)
  • พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช – ครึ่งพระองค์ ปั้นไม่เสร็จ เพราะศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.