พาราลิมปิกปี 2016 (7-18 กันยายน) พร้อมประวัติและรายละเอียดที่น่าสนใจ

พาราลิมปิกปี 2016 จะจัดขึ้นในวันที่ 7 – 18 กันยายน 2559 นี้ ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ทาง Zcooby จึงอยากจะขอนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับมหกรรมกีฬาเพื่อคนพิการระดับโลกมาฝากกันนะครับ

พาราลิมปิก คืออะไร?

พาราลิมปิก (Paralympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬาสำหรับคนพิการหลายประเภทจากทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบัน พาราลิมปิกจะจัดขึ้น หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสิ้นสุดลง และประเทศเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งนั้น ก็จะเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกด้วย

รายละเอียดของพาราลิมปิกปี 2016

พาราลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 7-18 ก.ย.นี้ ที่นครริโอ เด จาเนโร ประเทศบราซิล

เจ้าภาพจัดการชิงชัยทั้งหมด 22 ชนิดกีฬา ได้แก่ ยิงธนู, กรีฑา, บอคเซีย, พาราแคนู, จักรยาน, ขี่ม้า, ฟุตบอล 5 คน, ฟุตบอล 7 คน, โกลบอล, ยูโด, ไตรกีฬา, ยกน้ำหนัก, เรือพาย, เรือใบ, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, วอลเลย์บอลนั่ง, วีลแชร์บาสเกตบอล, วีลแชร์ฟันดาบ, วีลแชร์รักบี้ และวีลแชร์เทนนิส

ประวัติของพาราลิมปิก

พาราลิมปิกเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1948 ดอกเตอร์ลุดวิก กูทมัน ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลสโตก แมนเดวิลล์ ได้มีแนวคิดจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างฟื้นฟูสมรรถภาพกายและใจ ของทหารผ่านศึกชาวอังกฤษ จากสงครามโลกครั้งที่ 2 และจัดแข่งขันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1952 ที่อังกฤษเช่นกัน แต่ครั้งนี้มีทหารผ่านศึกชาวดัตช์ เข้าร่วมการแข่งขันด้วย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการ ในระดับนานาชาติครั้งแรกของโลก

จนเมื่อปี ค.ศ. 1960 ที่กรุงโรมของอิตาลี กีฬาคนพิการนานาชาติ ก็มีปรับระบบเข้ามาสู่การเป็น “กีฬาโอลิมปิกคนพิการ” ด้วยการจัดในเมืองเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในปีเดียวกันเป็นครั้งแรก แต่แนวความคิดดังกล่าวก็ประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลายของเมืองเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กีฬาคนพิการนานาชาติ ต้องแยกไปแข่งขันเองต่างหาก ตามหัวเมืองอื่นๆ ที่มีความพร้อม และเป็นไปได้มากกว่า

จนถึงปี ค.ศ. 1988 แนวความคิดดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ในที่สุด เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสหพันธ์กีฬาคนพิการนานาชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล) ร่วมกันขอความร่วมมือให้เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิก ควบคู่ไปในปีเดียวกัน ทั้งเกมฤดูร้อน ทั้งเกมฤดูหนาว กล่าวได้ว่า กีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 8 ที่กรุงโซลของเกาหลีใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1988 เป็นการเริ่มต้นกีฬาพาราลิมปิกอย่างเป็นทางการ

14721021781472102219l

ประเทศไทยกับพาราลิมปิกปี 2016

สำหรับประเทศไทย มีการส่งทัพนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทยผ่านควอลิฟายไปการแข่งขันในครั้งนี้ 45 คน 10 ชนิดกีฬา

โดยนักกีฬาชุดนี้ ประกอบไปด้วย กรีฑา 13 คน อังคาร ชนะบุญ, เกวลิน วรรณฤมล, สุรางค์ คำสุข, ศุภชัย สงพินิจ, ศักดิ์ชัย ยิ้มบ้านช้าง, พิชญา คูรัตนศิริ, พิเชษฐ์ กรุงเกตุ, พงศกร แปยอ, เรวัตร์ ต๋านะ, ประวัติ วะโฮรัมย์, สายชล คนเจน, ขจรศักดิ์ ธรรมโสภณ, เอกชัย จันทร

ว่ายน้ำ 4 คน สมชาย ดวงแก้ว, พนม ลักษณะพริ้ม, อัญชญา เกตุแก้ว, ชาคร แก้วศรี, ยิงธนู 3 คน วาสนา คูทวีทรัพย์, หาญฤทัย เนตรศิริ, เมธาสิน ชัยสินฟ้า, ยิงปืน 5 คน บดินทร์ ศรศรีวิชัย, สมพร ม่วงศิริ, อดิเดช อินทนนท์, ชุติมา แสนหล้า, ฉัตรชัย เสนาจันทร์

เทเบิลเทนนิส 7 คน รุ่งโรจน์ ไทยนิยม, อนุรักษ์ ลาววงษ์, วันชัย ชัยวุฒิ, ยุทธจักร กลิ่นบานชื่น, ชลชิตพยัค บุตรวรรณสิริณา, ดารารัตน์ อาสายุทธ, วิจิตรา ใจอ่อน, วีลแชร์เทนนิส 2 คน สุธี คลองรั้ว, สาคร ขันธสิทธิ์, วีลแชร์ฟันดาบ 1 คน สายสุนีย์ จ๊ะนะ

บอคเซีย 7 คน พัทธยา เทศทอง, วัชรพล วงษา, วรวุฒิ แสงอำภา, พรโชค ลาภเย็น, เฉลิมพล ตันบุตร, สุบิน ทิพย์มะณี, นวลจันทร์ พลศิล, ยกน้ำหนัก 2 คน ณรงค์ แคสนั่น, อรวรรณ บุตรโพธิ์ และยูโด 1 คน เมธาวดี นันทลักษณ์

 

โดยมีการตั้งเป้าไว้เท่าเดิมที่ 4 เหรียญทอง จากเจ้าของเหรียญทองเดิมในลอนดอนเกมส์ ดังนี้

  • สายสุนีย์ จ๊ะนะ (วีลแชร์ฟันดาบ)
  • รุ่งโรจน์ ไทยนิยม (เทเบิลเทนนิส)
  • พัทธยา เทศทอง (บอคเซีย)
  • เรวัตร์ ต๋านะ (วีลแชร์เรซซิ่ง)

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.