Alan Turing บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ (จาก The Imitation Game)

หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง The Imitation Game ถอดรหัสลับอัจฉริยะพลิกโลก ได้เข้าฉาย ชื่อของ แอลัน ทัวริง (Alan Turing) ก็ได้รับความสนใจมากขึ้น วันนี้ Zcooby เลยหาประวัติรวมทั้งผลงานที่น่าสนใจของบุคคลท่านนี้ ที่ไดรับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์” ว่ามีอะไรบ้าง เราลองมาดูไปด้วยกันนะครับ

Alan Turing คือใคร?

แอลัน ทัวริงเป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุขั้นตอนวิธีและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุกๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

ผลงานที่สำคัญของเขาคือ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทัวริงมีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอินิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ ซึ่งส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 เร็วขึ้นกว่าเดิม 2 ปี ป้องกันมิให้ผู้คนล้มตายเพิ่มอีกประมาณ 14 ล้านคน
Alan Turing

ประวัติของ Alan Turing

แอลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 ที่ลอนดอน ในช่วงชีวิตสมัยมัธยม ทัวริงสนิทและนับถือรุ่นพี่คนหนึ่ง ชื่อ คริสโตเฟอร์ มอร์คอม (Christopher Morcom) ซึ่งเสียชีวิตไปซะก่อน ทัวริงเศร้ามาก เลยตั้งใจสานต่อสิ่งที่รุ่นพี่เขาอยากทำให้สำเร็จ.
ปี พ.ศ. 2474 เขาเข้าเรียนคณิตศาสตร์ ที่ คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์  ทัวริงพูดเสมอว่า “งานของผมนั้นเครียดมาก และทางเดียวที่ผมจะเอามันออกไปจากหัวได้ก็คือ วิ่งให้เต็มที่” และเขาก็วิ่งอย่างจริงจัง จนได้ระดับโลก โดยที่ผลการวิ่งมาราธอนของเขา ชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมนักกรีฑาสมัครเล่น ด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 43 นาที 3 วินาที ในปี พ.ศ. 2489. ซึ่งในการแข่งขันวิ่งมาราธอนโอลิมปิก เมื่อ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) คนที่ได้เหรียญทอง ทำเวลาได้เร็วกว่าเขาเพียง 11 นาที

ปี พ.ศ. 2477 ทัวริงก็จบจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง.

ปี พ.ศ. 2478 ทัวริงไปเรียนกับ จอห์น ฟอน นอยมันน์ เรื่อง ปัญหาของการตัดสินใจ (Entscheidungs problem)
ปี พ.ศ. 2479 เขาก็เลยเตรียมออกบทความวิชาการที่มืชื่อเสียง “On Computable Numbers with an application to the Entscheidungsproblem” ซึ่งยุคต่อมาคนก็เลยนำ concept เขาไปประยุกต์ใช้และอ้างชื่อให้เกียรติว่า “เครื่องจักรของทัวริง” (Turing machine) หลายๆ คนตั้งให้ แอลัน ทัวริง เป็น The Founder of Computer Science หรือ ผู้ริเริ่มศาสตร์คอมพิวเตอร์ และปลายปีนั้นเองเขาก็ได้รับรางวัล Smith’s prize แล้วเขาก็ไปทำปริญญาโท และปริญญาเอกต่อ ที่ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน

ผลงานและเหตุการณ์สำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

โดยปกติคนส่วนมาจะรู้จักเขาในด้านของการทำงานที่ คิงส์คอลเลจ เคมบริดจ์ แต่เบื้องหลัง เขาทำงานแบบลับๆ ให้กับ British Cryptanalytic department (หรือเรียกกันว่า Government code & cypher school) เมื่อเกิดสงคราม เขาได้ย้ายไปทำงานที่ the wartime cryptanalytic headquaters, Bletchley Park โดยเป้าหมายคือเจาะรหัสของเครื่องเข้ารหัสเอนิกมา (Enigma Cipher Machine) ของเยอรมันให้ได้
ในปี ค.ศ. 1942 หลังจากที่สหรัฐสามารถนำเครื่องอินิกมามาได้ เขาได้ทำการวิเคราะห์การคำนวณทางสถิติเป็นขั้นสุดท้าย ก่อนจะสามารถเจาะรหัสเข้าเครื่องอินิกมาได้สำเร็จ และผลงานนี้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 เร็วขึ้นกว่าเดิม 2 ปี ป้องกันมิให้ผู้คนล้มตายเพิ่มอีกประมาณ 14 ล้านคน

ในปี ค.ศ. 1952 เขาถูกจับ โทษฐานมีเพศสัมพันธ์กับเด็กชาย ทัวริงไม่ปฏิเสธและยอมรับโทษแต่โดยดี มีทางเลือกให้เขาสองทางคือ หนึ่ง เข้าคุก หรือ สอง รับการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อลดความต้องการทางเพศ ซึ่งเขาเลือกที่จะรับการฉีดยา

เขาเสียชีวิตด้วยการทานแอปเปิ้ลชุบไซยาไนด์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 โดยมีอายุได้ 41 ปี โดยร่างของทัวริงก็ถูกพบโดยพนักงานทำความสะอาด ในสภาพมีแอปเปิลครึ่งลูกหล่นอยู่ข้างๆ และมีร่องรอยการทำการทดลองทางเคมีอยู่ใกล้ๆ
ในที่สุดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552 หลังจากการรณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต กอร์ดอน บราวน์นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรก็ทำการขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลบริติชต่อวิธีอันไม่ถูกต้องที่รัฐบาลปฏิบัติต่อทัวริงหลังสงคราม

TheImitationGame

เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง The Imitation Game ถอดรหัสลับอัจฉริยะพลิกโลก

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์แนวดราม่าวิทยาศาสตร์ นำแสดงโดย เบเนดิคต์ คัมเบอร์แบทช์,เคียร่า ไนท์ลี่ย์ และ แมทธิว กู๊ด ผลงานการกำกับของ มอร์เทน ทิลดัม

The Imitation Game เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอชีวประวัตของ อลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์อัจฉริยะชาวอังกฤษผู้ที่สามารถแกะรหัสอีนิกมาของเยอรมันได้ใน ช่วงสงครามโลกครั้งนี้สอง เป็นผลให้ฝ่ายพันธมิตรได้เปรียบในสงครามจนนำไปสู่ชัยชนะ และยังเป็นการปูรากฐานของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทำให้เรามีคอมพิวเตอร์ใช้กันในปัจจุบัน แต่เพราะภายหลังถูกจับได้ว่ามีพฤติกรรมรักร่วมเพศซึ่งผิดกฎหมายในสมัยนั้น ทัวริ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาชญากรรม และถูกตัดสินให้ถูกทำหมันด้วยสารเคมีแม้ว่าจะสร้างคุณให้ประเทศอย่างใหญ่ หลวงก็ตาม ทัวริ่งตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกินแอปเปิลชุบไซยาไนด์ในวันเกิดวัย 42 ปี

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.