แอนนา ฟรอยด์ (Anna Freud) คือใคร? พร้อมประวัติและผลงานที่น่าสนใจ

วันที่ 3 ธันวาคม 2557 เป็นวันครบรอบวันเกิด 119 ปีของ แอนนา ฟรอยด์ (Anna Freud) ซึ่งอาจจะเป็นชื่อที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในวงการจิตวิทยาน่าจะรู้จักดี วันนี้ Zcooby ขอนำประวัติที่น่าสนใจของบุคคลท่านนี้มาแนะนำนะครับ

Anna Freud

แอนนา ฟรอยด์ (Anna Freud) คือใคร?

แอนนา ฟรอยด์ (Anna Freud) เป็นบุตรสาวของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ โดยเธอเป็นบุตรสาวที่ทำงานทางด้านจิตวิเคราะห์ร่วมกับพ่อของเธอ และสิ่งที่ทำให้คนรู้จักเธอมากที่สุด ก็จะเป็นเรื่องของ “กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism)”

ประวัติของ แอนนา ฟรอยด์ (Anna Freud)

แอนนา ฟรอยด์ เกิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1895 ที่เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นบุตรสาวคนสุดท้องในจำนวนหกคนของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ และ มาธาร์ โดยหลังจากจบการศึกษา แล้ว เธอเน้นการทำงานในด้านจิตวิทยาในเด็ก โดยทำงานร่วมกับบิดาของเธอ และมีผลงานที่น่าสนใจและมีผลถึงปัจจุบันหลายชิ้น

เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 1982ในวัย 86 ปี

แอนนา ฟรอยด์

แอนนา และบิดา ซิกมันด์ ฟรอยด์

ผลงานที่น่าสนใจของ แอนนา ฟรอยด์ (Anna Freud)

แม้ว่าหลายคนอาจจะรู้จัก  ซิกมันด์ ฟรอยด์ มากกว่า และหลายคนจะมองว่า เธออยู่ในเงาของพ่อของเธอ แต่เธอก็มีผลงานที่เรียกว่า เป็นที่รู้จักและนำมาใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) (ดูรายละเอียดคร่าวๆ ท้ายบทความ)

และงานเขียนทางด้านจิตวิทยาของเธอ 8 เล่มมีดังนี้ครับ

  • Vol. 1. Introduction to Psychoanalysis: Lectures for Child Analysts and Teachers (1922–1935)
  • Vol. 2. Ego and the Mechanisms of Defense (1936); (Revised edition: 1966 (US), 1968 (UK))
  • Vol. 3. Infants Without Families Reports on the Hampstead Nurseries by Anna Freud
  • Vol. 4. Indications for Child Analysis and Other Papers (1945–1956)
  • Vol. 5. Research at the Hampstead Child-Therapy Clinic and Other Papers: (1956–1965)
  • Vol. 6. Normality and Pathology in Childhood: Assessments of Development (1965)
  • Vol. 7. Problems of Psychoanalytic Training, Diagnosis, and the Technique of Therapy (1966–1970)
  • Vol. 8. Psychoanalytic Psychology of Normal Development

**********************************

กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism)

กลไกในการป้องกันตัว เริ่มมาจาก ซิกมันด์ ฟรอยด์เชื่อว่า ความคับข้องใจ เป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ แต่ต้องมีจำนวนพอเหมาะที่จะช่วยพัฒนา Ego แต่ถ้ามีความคับข้องใจมากเกินไป ก็จะเกิดมีปัญหา และทำให้เกิดกลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้สำนึก
กลไกในการป้องกันตัวมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของบุคคลปกติทุกวัย โดยมีทั้งหมด 9 ข้อดังนี้

  1. การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจหรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก
  2. การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น (Projection) หมายถึง การลดความวิตกกังวล ด้วยการป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น
  3. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับตัวโดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น
  4. การถดถอย (Regression) หมายถึง การหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนเองมีความสุข
  5. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) หมายถึง กลไกป้องกันตน โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเองที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมอาจจะไม่ยอมรับ
  6. การสร้างวิมานในอากาศหรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming) กลไกป้องกันตัวประเภทนี้เป็นการสร้างจินตนาการหรือมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้
  7. การแยกตัว (Isolation) หมายถึง การแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง
  8. การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธหรือคับข้องใจต่อคนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ
  9. การเลียนแบบ (Identification) หมายถึง การปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.