ข้อควรระวังเมื่อใช้งาน Facebook (เรื่องการจับภาพหน้าจอ)

เมื่อวันก่อน ผมได้นั่งอ่านกระทู้หนึ่งในเว็บ pantip.com ถึงเรื่องที่มีผู้ใช้งานท่านหนึ่งได้ทำการนำภาพที่บันทึกหน้าจอมือถือในขณะที่สนทนากับแอดมินท่านหนึ่งที่ทำแฟนเพจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวประเทศญ๊่ปุ่น แล้วมีการโต้ตอบการสนทนาที่ใช้ถ้อยคำที่ถือได้ว่า รุนแรงและหยาบคาย พอสมควร วันนี้ผมเลยอยากจะเอากรณีนี้มาเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “ข้อควรระวังเมื่อใช้งาน Facebook (เรื่องการจับภาพหน้าจอ)”

เรื่องของเรื่อง เกิดจากผู้ใช้งานท่านนี้ (สมมุติว่าชื่อ คุณ A ก็แล้วกันนะครับ) ได้ทำการแชทสนทนากับทางแอดมิน (ขอเรียก แอดมิน ฺB ก็แล้วกันนะครับ) โดยแอดมิน B เป็นผู้ดูแลหรือเจ้าของแฟนเพจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวประเทศญ๊่ปุ่นที่มีคนรู้จักกันเยอะ แล้วคุณ A ก็มีแพลนจะเดินทางไปเที่ยวประเทศญ๊่ปุ่นด้วยตัวเองประมาณ 5 วัน แต่เนื่องจากยังไม่เคยเดินทางไปประเทศนี้ และเห็นว่า เพจที่แอดมิน B ดูแลอยู่ก็ทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ เลยอาจจะอยากจะขอคำแนะนำ

ส่วนเนื้อหาที่เหลือ กรุณาชมตามรูปด้านล่างนะครับ (ขออนุญาตไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ นอกเหนือจากข้อความการสนทนานะครับ)

chat-all-ttt

อ่านจบแล้ว รู้สึกอย่างไรบ้างครับ? หากเกิดเรื่องแบบนี้ ผมมองว่า ไม่เป็นผลดีแก่ใครเลยครับ

สิ่งที่ผมอยากจะสื่อสารไปยังทุกท่าน ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์หรือแฟนเพจ หรือท่านจะเป็นฝั่งผู้ใช้งาน มีอยู่ไม่กี่เรื่องดังนี้ครับ

เรื่องที่ 1 การจับภาพหน้าจอเพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องผิด,ประจาน เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมาก ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ “ควรคิดทุกครั้งก่อนจะพิมพ์อะไรลงไป” เพราะมันอาจจะเป็นหลักฐานที่มัดตัวคุณได้ตลอดไปเลยครับ

เรื่องที่ 2 ควรใช้ความสุภาพทุกครั้งที่สนทนา เพราะหลายครั้ง เราไม่ทราบว่า คู่สนทนานั่นคือใคร คิดอย่างไรกับเรา คุณอาจจะถูกคู่สนทนาตำหนิได้แม้จะไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว (เป็นเรื่องปกติบนโลกออนไลน์) หากเราเจอคู่สนทนาที่อาจจะใช้อารมณ์หรือถ้อยคำที่เริ่มไม่สุภาพ ให้เราหลีกเลี่ยงหรือพยายามตัดบทด้วยความสุภาพครับ

เรื่องที่ 3 การถูกด่า,ว่า,ตำหนิ ในโลกออนไลน์ แม้เราไม่ได้ทำอะไรผิด ไม่ใช่เรื่องแปลก บางครั้ง แง่่มุมที่เราต้องการนำเสนอนั้น อีกฝ่ายไม่เข้าใจ และอาจจะโต้ตอบด้วยถ้อยคำที่รุ่นแรง หากเราโต้ตอบ ร้อยทั้งร้อย เรื่องบานปลายแน่นอนครับ

เรื่องที่ 4 การปฎิเสธหรือการแจ้งว่าไม่สะดวกไม่ใช่เรื่องน่าอาย ในส่วนของฝั่งผู้ดูแลหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำรุนแรง หยาบคาย เพราะผู้ใช้งานส่วนมาก “คาดหวัง” ได้รับคำตอบที่ดีอยู่เสมอ หากไม่สะดวก หรือไม่ว่าง การปฎิเสธตรงๆ ก็ไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์ของแฟนเพจหรือเว็บไซต์ของเราดูแย่ลงครับ

เรื่องที่ 5 คำถามของคุณอาจจะไม่ได้รับคำตอบ ในฝั่งของผู้ใช้งาน ให้ทำใจไว้ว่า บางครั้ง หรือหลายครั้ง คำถามของเราอาจจะไม่ได้รับคำตอบ เนื่องจากอีกฝ่ายไม่สะดวก ไม่มีเวลา ในการตอบคำถามให้กับเรา ทางแก้ก็คือให้หาหนทางอื่นในการค้นหาคำตอบไปด้วยครับ จะช่วยลดความกดดันที่ไม่จำเป็นได้ครับ

ดังนั้นผมอยากจะสรุปว่า ก่อนที่จะใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตไม่ว่าทางไหนก็ตาม “คิดก่อนพิมพ์ คิดก่อนเขียน คิดก่อนพูด” นะครับ แล้วคุณจะมีความสุขกับการใช้งานครับ

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.