ภาคเสธ คืออะไร? ความแตกต่างระหว่าง “ให้การภาคเสธ” กับ “ให้การปฎิเสธ”

หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเรื่องการจับกุมผู้กระทำความผิดในบางข้อหา แล้วผู้ต้องหาให้การ “ภาคเสธ” หลายคนอาจจะงงและสงสัยว่า ภาคเสธคืออะไร ต่างจากการให้การปฎิเสธอย่างไรบ้าง วันนี้ Zcooby ขอมาไขข้อสงสัยให้ทราบกันนะครับ

ภาคเสธ ,ให้การภาคเสธ คืออะไร?

ในความหมายที่คนทั่วไปก็คือ

ภาคเสธ = ยอมรับว่าทำจริงในบางส่วน แต่ปฎิเสธว่าไม่ได้กระทำในบางส่วน

ส่วนในพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายดังนี้

ภาคเสธ  [พากเสด] ก. แบ่งรับแบ่งสู้ เช่น ให้การภาคเสธ คือ ให้การรับบ้างปฏิเสธบ้าง.

เช่น จำเลยถูกฟ้องว่า ฆ่าคนตายโดยเจนา แล้วจำเลยให้การภาคเสธ โดยจำเลยรับว่า ฆ่าจริง แต่ทำไปเพราะป้องกันโดยชอบ

**********************

ความแตกต่างระหว่าง “ให้การภาคเสธ” กับ “ให้การปฎิเสธ”

ภาคเสธ = จำเลยถูกฟ้องว่า ฆ่าคนตายโดยเจนา แล้วจำเลยให้การภาคเสธ โดยจำเลยรับว่า ฆ่าจริง แต่ทำไปเพราะป้องกันโดยชอบ

ปฎิเสธ = จำเลยถูกฟ้องว่า ฆ่าคนตายโดยเจนา แล้วจำเลยให้การปฎิเสธ โดยจำเลยไม่ยอมรับว่าเป็นคนฆ่า

 

แต่หลายท่านก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไป โดยบางท่านบอกว่า คำว่า ภาคเสธ ไม่มีอยู่จริง ดังเช่นที่คุณ มังกรแพรกษา จากเว็บไซต์พันทิป ได้ให้ความเห็นไว้ว่า

ภาคเสธ ไม่มีครับ
มันมั่วกันไปเรื่อยไอ้คนเขียนข่าวออกมาให้ข่าว
ชอบใช้กันให้รู้ในกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น

จำเลยถูกฟ้องว่าลักทรัพย์ จำเลยรับสารภาพ..
ถ้าจำเลยต่อสู้ว่า เป็นทรัพย์ของจำเลย ก็คือ จำเลยให้การปฏิเสธนั่นเอง

หรือจำเลยถูกฟ้องว่า ฆ่าคนตายโดยเจนา
จำเลยรับว่า ฆ่าจริง แต่ทำไปเพราะป้องกันโดยชอบ = จำเลยให้การปฏิเสธ ครับ

หรือ จำเลยถูกฟ้องว่า กระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส
จำเลยรับว่าทำร้ายจริง แต่ไม่ได้ทำร้ายจนสาหัส
เท่ากับจำเลยรับว่าได้ทำร้ายตาม ม.295 แต่ปฏิเสธว่ามิได้กระทำให้สาหัส ตาม ม.297
ดังนั้น ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ม.297 ไม่ได้
ศาลต้องสิบพยานก่อนว่า เป็นกรณี 297 หรือไม่ก่อน (เพราะจำเลยปฏิเสธ 297 )
ถ้าทางพิจารณาว่าเป็น 295 ศาลก็ลงโทษได้เลย หรือทางพิจารณาว่าเป็น 297 ศาลก็ลงโทษ 297 ได้เช่นกัน
แต่ต่างกันที่ หากเป็น 297 จำเลยจะไม่ได้ประโยชน์ในการรับสารภาพ เพราะไปปฏิเสธ ม.297 นั่นเอง
แต่ถ้าทางพิจารณาได้ว่า 295 ศาลก็จะลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตาม ม.78 ทันที

ภาคเสธ ไม่มี………………. จำใหม่ได้แล้วครับ

อย่างไรก็ดี หวังว่า บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับคำนี้มาขึ้นครับ

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.