“คู่มือการทำงานกับคนไทย” มุมมองของคนญี่ปุ่น จากเพจ JapanSalaryman

เช้าวันนี้ ผมได้เห็นบทความหนึ่งชื่อว่า คู่มือการทำงานกับคนไทย จากมุมมองของชาวญี่ปุ่น ซึ่งทางเจ้าของเพจ JapanSalaryman ได้นำมาจากบทความภาษาญี่ปุ่นออกมาเป็นภาษาไทยให้เราได้เห็นกันนะครับ

ที่มา : https://www.facebook.com/JapanSalaryman/posts/488839314616804

************

บางทีก็รู้สึกหดหู่ใจนะครับ ที่ได้อ่านบทความลักษณะนี้

“คู่มือการทำงานกับคนไทย” ที่คนญี่ปุ่นเขียนเพื่อเตือนใจ

คนญี่ปุ่นคนอื่นที่คิดจะทำงานร่วมกับคนไทย

.

เมื่อวานผมได้มีโอกาสเห็นคนแชร์บทความภาษาญี่ปุ่นบทความหนึ่ง

เป็นข้อเตือนใจสำหรับคนญี่ปุ่นที่ทำงานกับคนไทย

ยิ่งอ่านยิ่งปวดใจ ดังนั้นขออนุญาตแปลเรียบเรียงเป็นฉบับสั้น

เพื่อเราจะได้เช็คลิสต์กับตัวเองดูว่า เราเองเป็นแบบนี้มั้ย

แล้วถ้าเป็น…เราพอจะปรับอะไรได้

เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างสงบสุขและราบรื่นไงครับ

 

คู่มือการทำงานกับคนไทย


1.”ผู้ชายไม่ทำงาน สัดส่วนพนักงานหญิงมีจำนวนมาก”

จากสายตาของคนภายนอกเค้ามองเห็นว่า

พนักงานหญิงคนไทยดูขยันมากกว่าพนักงานชาย

ซึ่งเรื่องนี้ผมก็เคยได้ยินลูกค้าคนญี่ปุ่นพูดเปรยๆ

เกี่ยวกับประเด็นนี้เหมือนกันว่าในออฟฟิศทำไมเห็นพนักงาน

หญิงเยอะจัง แถมดูขยันด้วย ต่างกับผู้ชายที่ดูไม่ค่อยได้ทำอะไร

 

2.”ทำผิดไม่คิดรับผิดชอบ ชอบโบ้ยความผิดให้คนอื่น”

มักจะใช้คำแก้ตัว หรือมีคำพูดติดปากว่า “ไม่เป็นไร”

ดักในทุกโอกาสที่กระทำผิด

บางครั้งก็โบ้ยไปที่ระบบบ้าง บริษัทบ้าง

แย่ที่สุดคือโบ้ยไปเป็นความผิดของลูกค้า

 

3. “งานยากๆ ไม่อยากทำ”

ผัดวันประกันพรุ่งบ้าง ทำเป็นลืมบ้าง

จนกว่าจะโดนตามจากลูกค้าหรือเพื่อนร่วมงานถึงค่อยเริ่มงานอีกครั้ง

 

4. “ใช้อารมณ์เป็นมาตรฐานในการทำงาน”

บางคนที่บางวันไม่มีอารมณ์ทำงานก็นั่งเล่นอินเทอร์เนต

นั่งเล่นเฟสบุคทั้งวัน ไม่ทำการทำงานก็มี

 

5.”ทำงานช้า”

แม้มีงานด่วนมาก ถึงขั้นว่าถ้าไม่เริ่มตอนนี้ไม่ทันแน่นอน

แต่ก็ยังทำแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป

ราวกับว่าไม่รู้จักคำว่า “Deadline”

 

6.”ไม่เห็นความสำคัญของเวลา”

เช่น มาทำงานสาย หลังพักกลางวันก็กลับมาออฟฟิศไม่ตรงเวลา

ที่แย่ไปกว่านั้นคือ นัดลูกค้า แล้วไปไม่ทัน ผิดนัดบ้าง

จนคนญี่ปุ่นบางคนเหมารวมไปแล้วว่า

คนไทยไม่ตรงต่อเวลาเป็นเรื่องปกติ

 

7.”ไม่ชอบให้โดนต่อว่าต่อหน้าคนอื่น”

บางครั้งถ้าโดนว่า แล้วมีน้ำโหจึงตอบโต้กลับก็มี

 

ผมว่าบทความลักษณะนี้ก็มีข้อดีตรงที่ได้อ่านเพื่อเตือนสติเราเอง

เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิในการออกความคิดเห็นของผู้เขียน

(เพราะต่างคนต่างมีอิสระที่จะออกความคิดเห็น

ตามประสบการณ์ที่เค้าเจอมา)

ผมขออนุญาตไม่นำลิงค์ต้นฉบับมาแปะนะครับ

เนื่องจากเค้าเขียนในมุมลบเยอะกว่า

 

แต่ผมอยากให้เราลองมองย้อนมาที่ตัวเองว่า

ทุกๆ ทัศนคติของเราต่อการทำงานในวันนี้

เป็นทัศนคติของ “มืออาชีพ” แล้วหรือยัง?

ถ้าใช่ทัศนคติมืออาชีพอยู่แล้ว ลุยต่อเลยครับ

ผมมั่นใจว่าคุณต้องไปได้รุ่งแน่นอน

JapanSalaryman

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.