มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบของผู้หญิง (สาเหตุ,อาการ,การรักษา,การป้องกัน)

หลังจากที่มีข่าวนักแสดงสาวอย่าง พิม-พิมพ์มาดา’ พบก้อนเนื้อในรังไข่ มีภาวะเสี่ยงเป็นมะเร็ง ชื่อโรคมะเร็งรังไข่ ก็ได้รับความสนใจขึ้นมาจากคนในสังคมกันไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้ Zcooby จะขอแนะนำข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคนี้ครับ

ความน่ากลัวของมะเร็งรังไข่ก็คือ เรามักจะเจอมะเร็งรังไข่ในระยะท้าย ๆ ระยะต้น ๆ เรามักจะไม่ค่อยเจอ เพราะว่า มะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่ เมื่อเริ่มเป็น มักจะไม่ค่อยมีอาการ และมะเร็งรังไข่ ถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง 

สำหรับมะเร็งรังไข่ ถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง สาเหตุเนื่องมากจากเรามักจะเจอมะเร็งรังไข่ในระยะท้าย ๆ ระยะต้น ๆ เรามักจะไม่ค่อยเจอ เพราะว่า มะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่ เมื่อเริ่มเป็น มักจะไม่ค่อยมีอาการ หรืออาการที่เป็นก็ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นมะเร็งรังไข่ ไม่เหมือนกัน มะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ชนิดอื่น เช่น มะเร็งปากมดลูก ในคนไข้กลุ่มนี้มักจะมีประวัติตกขาว มีเพศสัมพันธ์จะมีเลือดออกในช่วงต้น ๆ หรือระยะท้าย สำหรับมะเร็งรังไข่แล้ว เป็นการยากที่จะบอกจากอาการ เพราะอาการของคนไข้เหล่านี้ ถ้าเน้นในช่วงต้น ๆ ก็มักจะไม่แน่นอน อาจจะมีอาการปวด จุด เสียด ในช่องท้องที่อาจจะเป็นอาการของโรคทางลำไส้ ซึ่งไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง กว่าจะเริ่มมีอาการก้อนก็มักจะมีขนาดโต และจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยท้องผูก หรือบางรายในระยะท้ายก็จะมีสุขภาพทรุดโทรมลง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องโตเร็ว หายใจลำบาก เนื่องจากมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปแล้ว หรือในบางรายมะเร็งรังไข่โตเร็ว อาจจะทำให้รังไข่แตกก็จะมาด้วยเรื่องปวดท้องอย่างฉับพลันได้

หน้าที่ของรังไข่

รังไข่ ถือว่าเป็น อวัยวะเพศอย่างหนึ่งของผู้หญิง ซึ่งมีขนาดโดยทั่วไปประมาณ 2-3 ซ.ม. ตำแหน่งของรังไข่จะอยู่ข้างปีกมดลูกทั้งสองข้าง

รังไข่จะมีหน้าที่หลัก 2 อย่าง คือ

  1. การผลิตไข่ ซึ่งจะมีมาผสมกับเชื้อของเพศชาย กลายเป็นตัวอ่อน ไข่ฝังตัวอยู่ในโพรงมดลูก
  2. การผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของผู้หญิง

มะเร็งรังไข่ คืออะไร?

ความน่ากลัวของมะเร็งรังไข่ก็คือ เรามักจะเจอมะเร็งรังไข่ในระยะท้าย ๆ ระยะต้น ๆ เรามักจะไม่ค่อยเจอ เพราะว่า มะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่ เมื่อเริ่มเป็น มักจะไม่ค่อยมีอาการ และมะเร็งรังไข่ ถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง 

จุดหรือบริเวณที่เกิดมะเร็งรังไข่ มักจะพบ 3 จุดด้วยกันคือ

  1. มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ (Epithelial Tumors) จุดเริ่มต้นที่เซลล์เยื่อบุผิวรังไข่และช่องท้อง เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 90% ของมะเร็งรังไข่
  2. มะเร็งฟองไข่ (Germ Cell Tumors) จุดเริ่มต้นของก้อนเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิด พบได้ร้อยละ 5-10 ของมะเร็งรังไข่ มักพบในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี
  3. มะเร็งเนื้อรังไข่ (Sex Cord-Stromal Tumors) จุดเริ่มต้นที่เนื้อเยื่อเกี่ยวกันของรังไข่ ซึ่งผลิตฮอร์โมนเพศหญิง โอกาสพบน้อยมาก

อาการของมะเร็งรังไข่

  • ท้องอืดเป็นประจำ
  • เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด
  • เกิดอาการแน่นหรือปวดท้อง เนื่องจากมีก้อนในช่องท้องหรือช่องเชิงกราน
  • ในบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการเลย แพทย์อาจตรวจพบโดยบังเอิญว่ามีก้อนในท้องน้อย
  • ปวดถ่วง ถ่ายอุจจาระไม่สะดวกหรือลำบาก เนื่องจากอาจมีก้อนเนื้ออาจกดเบียดลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
  • ถ่ายปัสสาวะบ่อยและขัด ในกรณีที่ก้อนมะเร็งโตขึ้นเบียดกระเพาะปัสสาวะ
  • ท้องโตขึ้นกว่าเดิม ดูเหมือนอ้วนขึ้น เนื่องจากเซลล์มะเร็งมีการกระจายไปในช่องท้อง จึงอาจทำให้เกิดมีน้ำในช่องท้อง
  • มีประจำเดือนมาผิดปกติ
  • มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น มีเสียงห้าว มีหนวด หรือขนขึ้นตามลำตัวคล้ายผู้ชายได้ (เนื่องจากผลของมะเร็งรังไข่ที่ทำให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติไป)

การตรวจหามะเร็งรังไข่

  1. ตรวจภายใน (Pelvic Exam) : ตรวจบริเวณช่องท้องและช่องเชิงกรานเพื่อหาก้อน มีการนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพเข้ามาช่วยให้การตรวจละเอียดชัดเจนขึ้น
  2. ตรวจโดยใช้หัวตรวจชนิดเรียวยาวใส่เข้าไปในช่องคลอด (Transvaginal ultrasound) เพื่อดูมดลูก และสิ่งผิดปกติที่อยู่หลังมดลูก
  3. ตรวจ CA-125 : หากระดับ CA-125 สูงเกินปกติ อาจบ่งชี้ถึงการเป็นมะเร็งรังไข่ (ต้องทำการตรวจเพิ่มเติม)
  4. ซีทีสแกน (CT scan)
  5. เอกซเรย์ทางเดินอาหาร (Barium enema) ด้วยการสวนสารทึบรังสีทางทวาร
  6. เอกซเรย์ดูไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ (Intravenous pyelogram)
  7. ตัดชิ้นเนื้อ (Biosy) เพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

สาเหตุของการเกิดมะเร็งรังไข่

จริงๆ แล้ว มะเร็งรังไข่ ถือว่าเป็นโรคที่ยังหาสาเหตุของการเกิดไม่ได้ แต่จากข้อมูลของผู้ป่วยที่ผ่านมา มีสถิติของความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ดังนี้

  1. ผู้ป่วย 2 ใน 3  มีอายุเฉลี่ย 55 ปี หรือมากกว่า
  2. กรรมพันธุ์ ผู้ที่มี แม่ พี่สาวน้องสาว ยาย ป้า หรือน้า เป็นมะเร็งรังไข่ จะมีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งรังไข่สูงขึ้น
  3. ผู้ที่มีการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม (Genetic Mutations) 1 ใน 2 ยีนมะเร็งเต้านม BRCA1 และ BRCA2 มีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่สูงขึ้น
  4. ผู้ที่ป่วยเป็น มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการพัฒนาเป็นมะเร็งรังไข่ได้
  5. ผู้ที่มีบุตรหลายคน มีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่มากกว่า ผู้หญิงที่มีบุตรน้อยคน และผู้ที่มีบุตรก่อนอายุ 30 ปี มีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี
  6. ผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วน (มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 30 หรือสูงกว่า) อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้น

การรักษามะเร็งรังไข่

การผ่าตัด – อาจมีการผ่าตัดตั้งแต่แรกเพื่อดูระยะหรือการลุกลามของมะเร็ง ในกรณีผ่าตัดเพื่อการรักษา แพทย์จะตัดเนื้องอกออกให้มากที่สุดโดยจะพยายามให้เหลือเนื้องอกขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร ซึ่งการผ่าตัดส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และจะเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยยังต้องการมีบุตรอีก แพทย์จะตัดเอาเฉพาะรังไข่และท่อนำไข่ด้านที่เป็นมะเร็งออก การให้เคมีบำบัดและรังสีรักษาจะใช้เมื่อมีการกลับมาเป็นซ้ำหลังจากผ่าตัด

หลังจากรักษาต้องนัดตรวจติดตามอย่างน้อยทุก 6 เดือนสำหรับช่วง 5 ปีแรก นอกจากนี้ ถ้าตรวจพบว่ามีการลุกลามของมะเร็งออกนอกรังไข่ตั้งแต่การตรวจพบมะเร็งครั้งแรก แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออกให้มากที่สุด ถ้ามะเร็งกระจายไปตามผนังช่องท้องหรืออวัยวะอื่นหลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องได้รับยาเคมีบำบัด แต่ถ้ายังไม่มีการกระจายไปส่วนดังกล่าว หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด

รังสีรักษา – มีทั้งการฉายรังสีจากภายนอกร่างกายและการฝังแร่ในร่างกาย การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับระยะของโรคและชนิดของมะเร็ง

ยาเคมีบำบัด – สำหรับมะเร็งรังไข่จะให้ยาเคมีทางช่องที่มีอวัยวะภายในช่องท้อง (peritoneal cavity) การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับระยะและชนิดของมะเร็ง

การป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่

เนื่องจากมะเร็งรังไข่ยังเป็นโรคที่หาสาเหตุไม่ได้ การป้องกันที่ดีก็คือ ควรตรวจเช็คสุขภาพตามระยะที่เหมาะสม ซึ่งหากพบในระยะแรก การรักษาจะสามารถรักษาให้หายขาดได้

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.