พ.ต.ปฏิภาณ เกษมสุวรรณ คือใคร? ผิดราชสวัสดิ์ คืออะไร?

หลังจากที่มีข่าวราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกฯ ถอดยศ พ.ต. ปฏิภาณ เกษมสุวรรณเหตุทำผิดวินัยทหาร และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หลายคนอาจจะสงสัยว่า พ.ต.ปฏิภาณ เกษมสุวรรณ คือใคร?

พ.ต. ปฏิภาณ เกษมสุวรรณ คือใคร?

พ.ต. ปฏิภาณ เกษมสุวรรณ ก่อนถูกถอดยศนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ สังกัดกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ประวัติ พ.ต. ปฏิภาณ เกษมสุวรรณ

ปี พ.ศ. 2549 มียศเป็น “ร้อยเอก” สังกัดกองพันทหารม้าที่ ๒๐ รักษาพระองค์ เป็นหนึ่งในผู้ได้รับเกียรติให้เชิญธงชัยเฉลิมพลในวันเฉลิม 2 ธันวาคม 2549

ปีพ.ศ. 2553 ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารยุทธการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

 

ข่าวเรื่องถอดยศ พ.ต. ปฏิภาณ เกษมสุวรรณ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกฯ ถอดยศ พ.ต. ปฏิภาณ เกษมสุวรรณเหตุทำผิดวินัยทหาร และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

วันที่ 24 พฤษภาคม 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศทหาร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอด พ.ต. ปฏิภาณ เกษมสุวรรณ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ สังกัดกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งได้ถูกปลดออกจากราชการ และยศทหาร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559

ทั้งนี้ เนื่องจากกระทําผิดวินัยทหารประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงขัดคําสั่งผู้บังคับบัญชา ประพฤติตนไม่เหมาะสม ผิดราชสวัสดิ์และขนบธรรมเนียมประเพณีในราชสํานัก ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. 2479 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 ประกอบระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดํารงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ. 2507 ข้อ 2 ประกาศ ณ วันที่  24  พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

 

คำว่า ผิดราชสวัสดิ์ คืออะไร? มีความหมายว่าอย่างไร?

หลายคนอาจจะเห็นคำว่า ผิดราชสวัสดิ์ อาจจะสงสัยว่า คำๆ นี้มีความหมายว่าอย่างไร ทางเราได้หาคำตอบมาให้ทราบดังนี้ครับ

ความหมายของคำๆ นี้ สามารถหาดูได้จากพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานไว้เพื่อเป็นข้อเตือนใจและข้อปฏิบัติแก่ราชสำนัก

โบราณว่าเป็นข้าจอมกษัตริย์ ราชสวัสดิ์ต้องเพียรเรียนรักษา
ท่านกำหนดจดไว้ในตำรา มีมาแต่โบราณช้านานครัน
หนึ่งวิชาสามารถมีอย่างไร ไม่ปิดไว้ให้ท่านทราบทุกสิ่งสรรพ์
หนึ่งกล้าหาญทำการถวายนั้น มุ่งมั่นจนสำเร็จเจตนา
หนึ่งมิได้ประมาทราชกิจ ชอบผิดตริตรึกหมั่นศึกษา
หนึ่งสัตย์ซื่อถือธรรมจรรยา เหมือนสมาทานศิลไว้ให้มั่นคง
หนึ่งเสงี่ยมเจียมตัวไม่กำเริบ เอื้อเอิบหยิ่งเย่อเพ้อหลง
หนึ่งอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์ ไม่ทำเทียมด้วยทะนงพระกรุณา
หนึ่งไซร้ไม่ร่วมพระราชอาสน์ ด้วยอุบาทว์จัญไรเป็นหนักหนา
หนึ่งเข้าเฝ้าชาวในไม่พันพัว เล่นหัวผูกรักสมัครสมาน
หนึ่งสวามิภักดิ์ใคร่ในภูบาล ถึงถูกกริ้วทนทานไม่ตอบแทน

สรุปก็น่าจะเป็น ราชสวัสดิ์ คือกฎหรือข้อกำหนดที่ผู้เป็นผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทต้องกระทำตาม

 

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.