เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ คือใคร? พร้อมประวัติและผลงาน

เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ อาจเป็นชื่อที่หลายคนสงสัยว่าท่านคือใคร ทำไม Google ถึงได้นำชื่อของท่านขึ้นในหน้าแรกวันนี้ ทาง Zcooby ขอนำเสนอข้อมูลประวัติและผลงานที่น่าสนใจมาฝากครับ

เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ คือใคร?

เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ – แกะสลักเครื่องสด) ประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นการทำอาหารแบบวิจิตร และการแกะสลักเครื่องสดเป็นรูปต่างๆ จนมีชื่อเสียงมายาวนานกว่า 50 ปี มีผลงานที่มีชื่อเสียงท่านด้านงานศิลปะแกะสลักมากมาย ทั้งยังเป็นครูสอนศิลปะแกะสลักที่โรงแรมดังหลายแห่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั้งไทยและต่างชาติที่บินมาเรียนกันถึงที่บ้าน

ประวัติของ เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์

ชื่อจริง : เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์

รางวัลที่ได้รับ : ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (แกะสลักเครื่องสด) ปี พ.ศ 2552

เกิด : 28 มกราคม พ.ศ. 2469 จังหวัดสกลนคร

ถึงแก่กรรม 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (89 ปี)

อายุ : 89 ปี

ครอบครัว : คู่สมรส นายแถมชัย สิทธิไตรย์ (ถึงแก่กรรม) มีบุตร 6 คน

บิดามารดา : นายบุญมา วชิโรดม และ นางน้ำ วชิโรดม

การศึกษา

  • สำเร็จการศึกษาระดับวิชาชีพชั้นสูง จากโรงเรียนการช่างสตรี พระนครใต้ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2489
  • ได้รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป สายมัธยมศึกษา สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูจันทรเกษม สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2533

ผลงานที่สำคัญของ เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์

ถือว่าท่านเป็นผู้มีผลงานแกะสลักเครื่องสด ผลงานที่สำคัญอันได้แก่

  • การซ่อมแซมเพดานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยปักลายผ้าตกแต่งเรือ และเรือในขบวนทั้งหมดในงานฉลองกรุงรัตน โกสินทร์ 200 ปี
  • รับสนองพระบรมราชโองการประดิษฐ์ผักและแกะสลักผลไม้ในงานเลี้ยงรับรองราช อาคันตุกะจากต่างประเทศ และงานเลี้ยงสโมสรสันนิบาตในวันฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ที่พระบรมมหาราชวัง
  • ประดิษฐ์ดอกมะลิจากแห้วจำนวน 500 ดอก ในงานอภิเษกสมรสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เมื่อปี 2528
  • ประดิษฐ์มะพร้าวอ่อน 250 ผลเป็นผอบ เพื่อส่งไปงานเลี้ยงพระราชทานที่สหรัฐ อเมริกา ในคราวที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ เสด็จฯ เผยแพร่งานศิลปวัฒนธรรมของไทย
  • มีตำแหน่งที่ปรึกษานิตยสารหญิงไทย เป็นคอลัมนิสต์ ศิลปะประดิษฐ์ ทั้งยังเป็นครูสอนศิลปะแกะสลักที่โรงแรมดังหลายแห่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั้งไทยและต่างชาติที่บินมาเรียนกันถึงที่บ้าน
  • เขียนตำรับตำราไว้มากมาย เช่น ศิลปะการแกะสลักผักและ ผลไม้ อาหารวิจิตรและแกะสลักวิจิตร ฯลฯ
  • งานเขียนเรื่อง “โคมลอย พระราชพิธีจองเปรียง” รวมถึงสารา นุกรมไทยสำหรับ เยาวชน เล่มที่ 13 โดย พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.