Rotavirus โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตา (สาเหตุ,อาการและวิธีการรักษา)

ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา หลายท่านอาจจะประสบอาการท้องเสียหรือโรคท้องร่วง ซึ่งหลายกรณี แพทย์ผู้รักษาได้พบว่า เกิดจากเชื้อไวรัสโรตา () ทาง Zcooby ขอแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสตัวนี้มาฝากครับ

Rotavirus (ไวรัสโรตา) คืออะไร?

ไวรัสโรตา (Rotavirus) นี้เป็นไวรัสกลุ่มอาร์เอ็นเอ (Double-stranded RNA virus) อยู่ในตระกูล (Family) Reoviridae ซึ่งมี 7 สายพันธุ์ (A, B, C, D, E, F, G)

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัสโรตา

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัสโรตา อาจะเกิดจากการสัมผัสเชื้อได้ทั่วไปโดยไม่รู้ตัว อาจล้างมือไม่สะอาด ทำให้ได้รับเชื้อโดยสัมผัสวัตถุปนเปื้อนหรือบริโภคอาหารหรือครื่องดื่มที่ติดเชื้อ

ในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก อาจเกิดจากการกินสิ่งปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อนี้ เช่น เด็กมือเปื้อนแล้วอมหรือดูดนิ้ว หรือเชื้อ/อุจจาระติดกับของเล่น หรือเครื่องใช้ จึงเป็นโรคป้องกันค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงมักมีการระบาดของไวรัสโรตาในโรงเรียนเด็กเล็ก หรือสถานเลี้ยงเด็ก

ซึ่งหากเชื้อออกจากร่างกาย ไปติดตามสิ่งของต่างๆ จะคงทนอยู่นานหลายเดือน หากไม่เช็ดออกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการติดโรคได้เช่นกัน

อาการของผู้ได้รับเชื้อไวรัสโรตา

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสโรตาเข้าสู่ร่างกาย โดยเมื่อเริ่มเข้าสู่ทางเดินอาหารที่ลำไส้เล็ก เชื้อจะทำลายผนังลำไส้เล็ก ทำให้การดูดซึมน้ำและเกลือแร่ลดลง และเอนไซม์ (Enzyme) สำหรับย่อยคาร์โบไฮเดรตผิดปกติ ทำให้มีอาการท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดิน ถ่ายเป็นน้ำ ไม่มีมูกหรือเลือดปน

ในกรณีที่ผู้ได้รับเชื้อเป็นเด็ก อาจจะมีไข้ มีน้ำมูกและไอเล็กน้อยนำมาก่อนคล้ายการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ แต่จะมีอา การช่วงสั้นๆแล้วมีอาการทางเดินอาหารตามมา มักมีอาเจียนมากใน 1-2 วันแรก และท้องร่วงเป็นน้ำพุ่งหลายครั้ง หากไม่ได้รับเกลือแร่เพียงพอจะท้องอืดมา

เชื้อไวรัสโรตาที่อยู่ในตัวเด็กที่เป็นโรค จะแพร่ไปให้ผู้อื่นทางอุจจาระได้ ตั้งแต่ประมาณ 1-2 วันก่อนมีอาการท้องร่วงจนกระทั่งประมาณ 10 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคบกพร่อง จะพบเชื้อในอุจจาระนานกว่า 30 วันหลังจากการติดเชื้อ

การรักษากรณีได้รับเชื้อไวรัสโรตา

เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส การรักษาคือ รักษาประคับประคองตามอาการ (ยาปฏิชีวนะ ไม่สามารถฆ่าไวรัสได้ ฆ่าได้แต่แบคทีเรีย)

โดยให้สารละลายเกลือแร่กินให้เพียงพอกับน้ำ/เกลือแร่ที่เสียไปกับการอาเจียนและท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดินซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา

หากผู้ป่วยกินไม่ได้ ต้องให้น้ำ/เกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือดดำ

เมื่อมีไข้ รักษาอาการไข้โดยเช็ดตัวและให้ยาลดไข้ ให้ยาขับลมหากปวดท้องหรือท้อง อืด ซึ่งการให้เกลือแร่ที่เพียงพอจะช่วยลดอาการท้องอืด เพราะมีเกลือแร่โปแตสเซียม (Potas sium) เพียงพอที่ช่วยทำให้ลำไส้บีบตัวได้ดีขึ้น

หากผู้ป่วยหยุดอาเจียน ให้รับประทานข้าวต้ม หรือโจ๊กได้

 

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.