ติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากสาเหตุอะไร? พร้อมแนวทางในการรักษา

ในปัจจุบันนี้เราอาจจะได้ยินถึงคำว่า “ติดเชื้อในกระแสเลือด” อยู่บ่อย หลายคนอาจจะสงสัยว่า โรคนี้เกิดจากสาเหตุอะไร? วันนี้ Zcooby หาข้อมูลแบบเข้าใจง่ายๆ มาฝากครับ

ติดเชื้อในกระแสเลือด คืออะไร?

ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) = ภาวะการติดเชื้อในกระแสโลหิตซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

 

สาเหตุการติดเชื้อในกระแสเลือด

เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสเลือด คือภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบจากโรคนี้จะมี เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ,เชื้อแบคทีเรียแกรมบวก,เชื้อแบคทีเรียชนิด Classic pathogens เช่น H.influenzae, Neisseria, meningitidis, Streptococcus pyogenes และ S.pneumoniae และ เชื้อรา

 

ใครบ้างมีโอกาสเสี่ยงภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด?

  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางประเภท เช่น โรคเบาหวาน โรคของเม็ดเลือดขาวบางชนิด โรคตับแข็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อ HIV
  • ผู้รับยากดระบบภูมิคุ้มกันประเภทยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือเคมีบำบัดสำหรับรักษาโรคมะเร็ง
  • เด็กเล็ก,ผู้สูงวัย หรือผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่แข็งแรง
  • ผู้ป่วยที่ต้องใส่เครื่องมือแพทย์เข้าไปในร่างกาย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ สายปัสสาวะ การใส่ท่อเข้าหลอดเลือดเพื่อให้สารน้ำต่าง ๆ
  • ผู้ป่วยที่ต้องมีการใส่สิ่งแปลกปลอมอยู่ในร่างกาย เช่น ลิ้นหัวใจเทียม
  • ผู้ที่รับยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานานานเกินไป
  • ผู้ได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อผ่านทางผิวหนัง เช่น ถูกไฟไหม้ เกิดแผลถลอกขนาดใหญ่

 

ผลของการติดเชื้อในกระแสเลือด

โดยลำดับการเกิดโรคนี้ เริ่มต้นจากผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

  • เมื่อแบคทีเรียซึมเข้าสู่กระแสเลือด หากไม่ได้รับการรักษาทันที
  • เชื้อแบคทีเรียจะกระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้ลิ่มเลือดอุดตัน
  • การลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงแต่ละส่วนเกิดปัญหา
  • เมื่อไม่ได้รับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ การทำงานของอวัยวะส่วนนั้นจึงล้มเหลว
  • และเสียชีวิตในที่สุด

 

อาการของผู้ป่วยจากติดเชื้อในกระแสเลือด

ในอาการเบื้องต้น จะเป็นดังนี้

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส หรือไม่มีไข้แต่ติดเชื้อรุนแรง
  • หัวใจเต้นเร็วกว่า 90 ครั้งต่อนาที
  • หายใจเร็วมากกว่า 20 ครั้งต่อนาที หรือวัดค่าความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดได้มากกว่า 32 มิลลิเมตรปรอท
  • ตรวจพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 12,000 ตัวต่อมิลลิลิตร หรือน้อยกว่า 4,000 ตัวต่อมิลลิลิตร ทว่าอาการนี้อาจพบในผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็ได้

อาการเฉพาะที่

  • มีอาการติดเชื้อที่ปอด
  • มีไข้สูง
  • ไอมีเสมหะเล็กน้อย หรือหนักหน่อยอาจไอมีเสมหะปนเลือด
  • น้ำหนักลด
  • บางรายมีอาการปวดท้อง
  • บางรายอาจมีอาการปวดหลังรุนแรง
  • บางรายอาจไม่มีอาการแสดงชัดเจน เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีฝีในตับจากการติดเชื้อโดยไม่มีอาการปวดท้องเลยก็ได้
  • บางรายอาจพบ รอยโรคที่ผิวหนัง ส่วนใหญ่จะพบเป็นตุ่มหนอง เป็นผื่นแดง เป็นตุ่มตามผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการกระจายเชื้อมาที่ผิวหนังโดยตรง
  • บางรายอาจมีอาการที่เกิดจากความล้มเหลวของระบบอวัยวะต่าง ๆ
  • ในรายที่เกิดอาการความดันโลหิตตก  ผู้ป่วยอาจมีอาการสับสน กระวนกระวาย หมดสติ มีปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเลย เลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ มีกรดแลคติกคั่ง
  • บางรายอาจหายใจหอบจากภาวะมีสารน้ำรั่วซึมในปอด หรือภาวะ DIC ที่ทำให้มีเลือดออกง่าย

 

การรักษาอาการติดเชื้อในกระแสเลือด

การรักษามีแนวทางดังนี้

  • รักษาด้วยการควบคุมหรือกำจัดเชื้อออกจากตำแหน่งที่มีการติดเชื้อด้วยการระบายหนองหรือผ่าตัด เป็นการกำจัดเชื้อออกไปเป็นจำนวนมาก และยังเป็นการกำจัดแหล่งของเชื้อโรค หรือการอุดตันของเชื้อที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ

    หากเกิดติดเชื้อจากอวัยวะเทียมหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่อยู่ในร่างกาย ควรถอดอุปกรณ์เหล่านั้นออกจากตัวผู้ป่วยโดยด่วน

  • การให้ยาปฏิชีวนะ ที่ครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุ  รวมทั้งคำนึงถึงโอกาสดื้อยาระหว่างการรักษา หากผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาในกลุ่ม aminoglycosides ควรให้วันละครั้ง
  • ประคับประคองอาการอาการไตวายด้วยการทำ dialysis การดูแลรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติ การป้องกันเลือดออกจากทางเดินอาหาร
  • การดูแลภาวะโภชนาการ รวมทั้งควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกิน 110 มก./ดล. และควรตรวจหาคอร์ติซอลในเลือดด้วย

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.