SLE คือโรคอะไร? มารู้จักโรค SLE กันให้มากขึ้น

หลังจากที่่มีข่าวดาราหลายคนกำลังป่วยด้วยโรค SLE หลายคนอาจะสงสัยว่า โรค SLE คืออะไร? สาเหตุหรือแนวทางการรักษาโรคนี้เป็นอย่างไรบ้าง วันนี้ Zcooby ขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจครับ

โรค SLE คืออะไร?

SLE ย่อมาจาก Systemic lupus erythematosus หากจะแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายก็คือ โรคภูมิแพ้ตัวเอง และหลายคนจะรู้จักโรคนี้ในชื่อว่า โรคพุ่มพวง เนื่องจากนักร้องลูกทุ่งชื่อดังอย่าง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้

โดยโรคนี้เป็นกรณีที่เกิดจาก “ภูมิต้านทานของตนเอง” ได้ทำลายเนื้อเยื่อตัวเองจะเกิดการอักเสบเรื้อรัง โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงอายุน้อย แม้ว่าโรคนี้มักจะเป็นในผู้หญิงแต่ไม่เป็นโรคที่สืบทอดผ่านทางกรรมพันธุ์

อาการของโรค SLE

เกณฑ์นี้จะมีอาการหรือความผิดปกติที่พบได้บ่อยที่เจอในผู้ป่วยโรคเอส แอลอี ในการวินิฉัยโรคนั้นผู้ป่วยจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์อย่างน้อย 4 จาก 11 ข้อในช่วงเวลาใดก็ได้ตั้งแต่เริ่มเป็นโรคนี้ อย่างไรก็ตามแพทย์ที่ มีความเชี่ยวชาญสามารถให้การวินิจฉัยโรคเอสแอลอีได้แม้ว่าจะมีลักษณะที่เข้าได้น้อยกว่า 4 ข้อ เกณฑ์วินิจฉัยมีดังนี้:

  • ผื่นผีเสื้อ – ผื่นนี้เป็นผื่นสีแดงบนแก้มทั้ง 2 ข้างและข้ามจมูก
  • ผื่นแพ้แสง – เป็นปฏิกิริยาที่เกิดมากขึ้นเมื่อสัมผัสกับแสงแดด ผิวหนังใต้เสื้อผ้ามักจะ ไม่มีผื่น
  • ผื่นดิสคอยด์-ลูปัส ผื่นเป็นรูปเหรียญ นูน และมีขุย พบได้ที่บนหน้า หนังศรีษะ หู อก และแขน เมื่อผื่นนี้หายจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้ ผื่นชนิดนี้จะพบบ่อยในเด็กผิวดำมาก กว่าเชื้อชาติอื่น
  • แผลที่เยื่อเมือก – มีแผลเล็กๆหลายแผลในปากและจมูก มักไม่เจ็บและแผลที่จมูกอาจทำให้ มีเลือดออกจากจมูกได้
  • ข้ออักเสบ  –มักพบในผู้ป่วยเด็กเป็นจำนวนมากที่เป็นโรคเอสแอลอี ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวมที่ข้อที่มือ ข้อมือ ข้อศอก เข่า และข้ออื่นๆ ที่แขนและขา อาการปวดอาจจะปวดแบบย้ายที่ คือ ปวดจากข้อหนึ่งย้ายไปอีกข้อหนึ่ง ซึ่ง มัก เกิดที่ข้อเดียวกันของทั้ง 2 ข้าง ข้ออักเสบในโรคเอสแอลอีมักไม่ทำให้ เกิดข้อผิดรูปถาวร
  • เยื่อบุช่องปอดอักเสบ – เยื่อบุช่องปอดอักเสบคือการอักเสบของเยื่อบุช่องปอดที่อยู่รอบเนื้อปอด ส่วนเยื่อบุหัวใจอักเสบคือการอักเสบของเยื่อบุหัวใจที่อยู่รอบหัวใจ การอักเสบอาจทำให้มีการสะสมของสารน้ำรอบๆหัวใจและปอด เยื่อบุช่องปอดอักเสบทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกโดยจะมีอาการเจ็บมากขึ้นเมื่อหายใจ
  • ภาวะทางไต – อาการทางไตพบได้ในผู้ป่วยเด็กโรคเอสแอลอีเกือบทุกรายโดยมีความรุน แรงมากน้อยแตกต่างกัน ในระยะแรกมักไม่มีอาการและสามารถ ตรวจพบได้เมื่อส่งตรวจปัสสาวะและเลือดเพื่อดูการทำงานของไต เด็กที่มีการทำลายของไตอย่างมากอาจจะพบโปรตีนและ/หรือ เลือดในปัสสาวะและอาจมีอาการบวมโดยเฉพาะที่เท้าและขา
  • ระบบประสาทส่วนกลาง – อาการทางระบบประสาทส่วนกลางได้แก่ ปวดศรีษะ ชักและอาการทาง จิตเวช เช่น มีความยากลำบากในการใช้สมาธิ การจดจำ อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้าและโรคจิต (เป็นสภาวะทางจิตใจที่รุนแรงที่ ทำให้รบกวนด้านความคิดและพฤติกรรม)
  • ความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด – ความผิดปกตินี้เกิดจากการที่ภูมิต้านทานตัวเองไปทำลายเซลล์เม็ดเลือด กลไกการทำลายเม็ดเลือดแดง (ซึ่งมีหน้าที่ขนส่งออกซิเจนจากปอด ไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย) ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงและทำให้ เกิดภาวะซีด การทำลายนี้อาจจะเกิดอย่างช้าๆและน้อยๆ หรืออาจเกิดแบบ รวดเร็วจนทำให้อยู่ในภาวะฉุกเฉินได้
  • ความผิดปกติทางด้านระบบภูมิคุ้มกัน – ความผิดปกตินี้จะหมายถึงการตรวจพบภูมิต้านทานต่อตนเองในเลือดซึ่ง พบในผู้ป่วยโรคเอสแอลอี
  • แอนตี้นิวเคลียร์ แอนติบอดี้ (ANA)  – ภูมิต้านทานต่อตนเองนี้จะไปต่อต้านนิวเคลียร์ของเซลล์ จะพบในเลือด ของผู้ป่วยเอสแอลอีเกือบทุกคน อย่างไรก็ตามในการที่เจอภูมิต้านทาน ต่อตนเองชนิดนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นโรคเอสแอลอีเสมอไป เนื่องจาก สามารถพบได้ในโรคอื่นๆและสามารถพบค่าบวกได้น้อยๆในเด็กที่ไม่เป็นโรคประมาณ 5-15 เปอร์เซนต์

ลักษณะของโรค SLE

โรค SLE มีได้หลายลักษณะดังนี้

  • Systemic lupus erythematosus (SLE) หมายถึงโรคที่มีการทำอักเสบและมีการทำลายเนื้อเยื่อหลายอวัยวะ เช่น ผิวหนัง ไต ข้อ หัวใจ
  • Discoid lupus erythematosus โรคที่เป็นเฉพาะผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณหน้า หนังศีรษะ ผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่เปลี่ยนไปเป็น SLE
  • Drug-induced lupus เป็นกลุ่มโรคที่มีอาการเหมือน SLE เช่น มีผื่น ข้ออักเสบ มีไข้ แต่ไม่เป็นโรคไต เมื่อหยุดยาอาการต่างๆจะหายไป
  • Neonatal lupus ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็น SLE พบน้อยมาก

แนวทางการรักษาโรค SLE

ยังไม่มียาที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในการรักษาโรคเอสแอลอีในเด็ก อาการหลัก ของโรคเอสแอลอีเกิดจากการอักเสบดังนั้นจุดประสงค์ของการรักษาคือ การลดการอักเสบ มียาอยู่ด้วยกัน 5 กลุ่มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการ รักษาเด็กที่เป็นโรคเอสแอลอี

  1. ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs)
  2. ยาต้านมาลาเรีย
  3. ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
  4. ยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคที่ไม่ใช่สารชีวภาพ (DMARDs)
  5. ยาต้านรูมาติสซั่มที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคที่เป็นสารชีวภาพ (Biological DMARDs)

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.