สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง คือใคร? (พร้อมประวัติและผลงาน) นายกสมาคมฟุตบอลคนล่าสุด

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ได้มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกและอุปนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่สนามอินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก และผลล่าสุด พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย วันนี้ทาง Zcooby ขอนำประวัติและผลงานที่น่าสนใจของ พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง มาฝากครับ

สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง

สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง คือใคร?

พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย คนที่ 17 ที่มีการเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมาด้วยคะแนนเสียง 62 คะแนน จาก 68 เสียงมีผลงานที่เป็นที่รู้จักจากคดีกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรบุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิ และกรณีชายชุดดำ จากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 10 เมษายน 2553

ประวัติของ พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง

ชื่อจริง สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง

ชื่อเล่น อ๊อด

ชื่อที่คนส่วนใหญ่รู้จัก บิ๊กอ๊อด

ตำแหน่งสูงสุด พลตำรวจเอก

วันเกิด  27 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อายุ 61 ปี

การศึกษา

  • จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนท่าเรือนิตยานุกูล จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเข้าศึกษาต่อใน รุ่น 15 (ตท.15)
  • จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 31 (นรต.31)
  • จบปริญญาตรีสาขา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จบปริญญาโท รัฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยปูนา จากอินเดีย
  • จบปริญาเอกปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ครอบครัว

  • มีน้องชาย 1 คน ชื่อ พ.ต.อ.ภูมินทร์ พุ่มพันธุ์ม่วง (ปัจจุบันเป็นผกก.5 บก.ป.)
  • มีภรรยาชื่อ พจมาน พุ่มพันธุ์ม่วง
  • มีบุตรสองคน ได้แก่ ชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง และ ร้อยตำรวจตรี รชต พุ่มพันธุ์ม่วง

ด้านชีวิตราชการตำรวจ

พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รับราชการตำรวจครั้งแรก ในตำแหน่ง รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในกรมตำรวจดังต่อไปนี้

  • 16 ธันวาคม พ.ศ. 2532 รองผู้กำกับการ (ทำหน้าที่นายตำรวจปฏิบัติราชการพิเศษ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน) สำนักงานกำลังพล
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2538 – ผู้กำกับการกองวิชาการ
  • 25 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – รองผู้บังคับการชุดตรวจงานอำนวยการ ส่วนตรวจราชการ 1 สำนักงานจเรตำรวจ
  • 16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 – รองผู้บังคับการ กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 – รองผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมือง 1
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – ผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – ผู้บังคับการ กองแผนงาน 2
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 – ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานแผนงานและงบประมาณ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – รองจเรตำรวจแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ประสานงานสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย)
  • 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 – ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสืบสวน)
  • 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – จเรตำรวจแห่งชาติ (สบ 8)
  • 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 – ที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ในส่วนของภาคสังคม เป็นอดีตกรรมการองค์กรสวนสัตว์ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนท่าเรือ นิตยานุกูล

ผลงานที่น่าสนใจของ พล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง

  • คดีบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิ – ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบุกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ต่อมาได้ยื่นขอลาออกจากการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554)
  • คดีชายชุดดำ – นำแถลงข่าวตำรวจจับกุมกลุ่มคนชุดดำที่ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามระหว่างการชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 10 เมษายน 2553 จำนวน 5 คน พลตำรวจเอกสมยศว่า “ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มีคำถามจากสังคมมาโดยตลอดว่าชายชุดดำมีจริงหรือไม่ วันนี้ก็ชัดเจนแล้วว่ามีจริง”
  • ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลตำรวจเอกสมยศเป็น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนใหม่ [4] โดยให้เริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.