ไขมันทรานส์คืออะไร? มีอาหารอะไรบ้างที่มีกรดไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ?

หลังจากมีประกาศจากราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ไขมันทรานส์ ทำให้หลายคนสงสัยว่า ไขมันทรานส์คืออะไร? มีผลกระทบหรืออันตรายหรือไม่ หากรับประทานมากๆ

ที่มาประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ไขมันทรานส์

ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ประกาศประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ.2561 เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่งและมาตรา 6 (8)แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต น้ำเข้า หรือจำหน่าย

ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

*********************************

ไขมันทรานส์คืออะไร?

ไขมันทรานส์เป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งพบได้ไม่บ่อยในธรรมชาติ แต่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ ไขมันมีสายไฮโดรคาร์บอนขนาดใหญ่ยาว ซึ่งอาจเป็นไขมันไม่อิ่มตัว คือ มีพันธะคู่อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่ง หรือไขมันอิ่มตัว คือ ไม่มีพันธะคู่เลย ก็ได้ tyในธรรมชาติ โดยทั่วไปกรดไขมันมีการจัดเรียงแบบซิส (ซึ่งตรงข้ามกับแบบทรานส์)

ก่อนหน้านี้ ทางองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาออกข้อกำหนดเบื้องต้นว่าน้ำมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันบางส่วน (ซึ่งมีไขมันทรานส์) โดยทั่วไปไม่ผ่านการรับรองว่าปลอดภัย ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การห้ามไขมันทรานส์ที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรมจากอาหารอเมริกา

ซึ่งต่อมาประเทศไทยจึงมีประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ไขมันทรานส์

 

ทำไมผู้ผลิตอาหารจึงนิยมเอาไขมันทรานส์มาทำอาหาร?

เนื่องจากไขมันทรานส์มีคุณสมบัติดังนี้

    • เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป
    • สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข
    • สามารถทนความร้อนได้สูง
    • มีรสชาดที่ใกล้เคียงกับไขมันที่มาจากสัตว์
    • มีราคาที่ถูกกว่าไขมันจากสัตว์

บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่าง ๆ จึงมักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย

 

ผลจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์

การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มาก ๆ จะเป็นส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น

และลดระดับ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด และเนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น ทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือ

  • น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น
  • มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ
  • มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อังกฤษ: Coronary Heart Disease) โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

มีอาหารชนิดไหนบ้างที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์?

  • กลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท
  • เบเกอรี่
  • ขนมขบเคี้ยว
  • ครีมเทียม
  • วิปปิ้งครีม

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.