ปรากฏการณ์ดาวเคียงกัน คืออะไร? (13 พฤศจิกายน 2560) #Facebook

ผู้ใช้งาน Facebook วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2560) อาจจะเห็นข้อความและรูปภาพเกี่ยวกับการเชิญชวนให้ชม “ปรากฎการณ์ดาวเคียงกัน” อาจจะสงสัยว่า มันคืออะไร? ทาง Zcooby ขอแนะนำข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากนะครับ

โดยมีข้อความที่น่าสนใจดังนี้

ปรากฏการณ์ดาวเคียงกัน

รุ่งเช้าวันพรุ่งนี้ ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาเคียงคู่กันบนท้องฟ้า รีบตื่นก่อนรุ่งสาง
เพื่อมาชมปรากฏการณ์หาดูยากนี้กัน

ปรากฏการณ์ดาวเคียงกัน คืออะไร?

ปรากฏการณ์ดาวเคียงกัน คือ การที่ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงกันบนท้องฟ้า ทางดาราศาสตร์จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม” คือ ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุม 1-5 องศา

โดยปรากฏการณ์ดาวเคียงกันในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 จะเป็นในรูปแบบของดาวศุกร์ปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดี บนท้องฟ้าทางทิศตะวันออก ที่ระยะห่างเชิงมุม 0.45 องศา ช่วงเช้ามืดตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30 – 06.00 น.

หากฟ้าใส และไม่มีเมฆสามารถมองเห็นความสวยงามของดาวเคราะห์ทั้ง 2 ดวงด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน หากสังเกตการณ์โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายไม่เกิน 100 เท่า จะมองเห็นดาวเคราะห์ทั้งคู่อยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน

 

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ปรากฏการณ์ดาวเคียงกัน เกิดขึ้นวันไหน? เวลาใด?

สำหรับปรากฏการณ์ดาวเคียงกันในครั้งนี้ จะเกิดขึ้นในช่วงช่วงเช้ามืด ตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30 – 06.00 น. ของวันที่ 13 พฤศิจกายน 2560 (ตามเวลาในประเทศไทย)

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.