ไวรัสเมอร์ส,โรคเมอร์ส (MERS) คืออะไร? (อาการและการป้องกัน)

หลังจากที่เริ่มมีข่าวพบผู้ติดเชื้อ “ไวรัสเมอร์ส”ในประเทศไทย ทำให้หลายคนเริ่มกังวลใจและพบว่า โรคนี้อยู่ใกล้ตัวเราขึ้นไปทุกๆ ที และความน่ากลัวของโรคนี้ก็คือ ยังไม่มียา และวัคซีนที่จะใช้ในการรักษา รวมถึงป้องกันโรคได้ วันนี้ Zcooby ขอเอาข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับเชื้อไวรัสตัวนี้ครับ

ไวรัสเมอร์ส

ไวรัสเมอร์ส คืออะไร?

ชื่อของไวรัสเมอร์ส หรือ เมอร์สคอฟ เป็นคำย่อของคำว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (แปลว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง)

โรคเมอร์ส เป็นโรคที่พบใหม่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสชนิด corona virus ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม single-stranded RNA virus ไวรัสชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นไวรัสที่ติดเชื้อ อยู่บริเวณส่วนต้นของทางเดินหายใจในคน เป็นสาเหตุอาการโรคหวัดทั่วๆไป แต่มีบางสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า เช่น อูฐ และค้างคาว เป็นต้น ต่อมาไวรัสสายพันธ์นี้ได้มีการพัฒนาจนสามารถแพร่เข้ามาติดเชื้อในคนได้

โดยไวรัสเมอร์สนั้น อาจมีชื่อเรียกอื่นๆ ดังนี้

  • โรคเมอร์ส
  • ไวรัสเมอร์ส
  • ไข้หวัดเมอร์ส
  • ไวรัสเมอร์สคอฟ
  • ไวรัสเมิร์ส
  • เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง
  • โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง

ที่มาของเชื้อไวรัสเมอร์ส

เชื้อไวรัสชนิดนี้ มีต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบีย มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อ และเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่ง โดยเชื้อไวรัสเมอร์สนี้เป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่เคยแพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546

อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการที่สังเกตได้ดังนี้

  • มีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูง
  • ไอ
  • หายใจหอบ หายใจขัด
  • ถ่ายเหลว
  • หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์
  • กลุ่มผู้ป่วยที่พบในตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย

โรคเมอร์ติดต่อ,แพร่เชื่อทางไหน?

เชื้อไวรัสเมอร์สจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต

การป้องกันเบื้องต้นไวรัสเมอร์สคอฟ

  1. กินร้อน- ช้อนกลาง- ล้างมือ
  2. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
  3. หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด
  4. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์
  5. หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  6. มาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์

ท้ายนี้ หากสงสัยว่าตนเองมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.