วันสตรีสากล 2561 (8 มีนาคม) ประวัติและความสำคัญ

ทุกวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี จะเป็นวันสำคัญวันหนึ่งคือ “วันสตรีสากล” ทาง Zcooby ขอแนะนำประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันนี้ครับ

ความสำคัญของ วันสตรีสากล (International Women’s Day)

ในความเป็นจริงแล้ว วันสตรีสากล มิได้เป็นเพียงแค่วันเฉลิมฉลองสำหรับสตรีเท่านั้น แต่เป็นวันที่ทำให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของ การต่อสู้ของผู้ใช้ แรงงานหญิง และสืบทอดเจตนารมย์ที่ต้องการให้ผู้หญิงได้รับการปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัย จากความรุนแรง และยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ

โดยผู้ใช้แรงงานต้องได้รับการดูแลในด้านสวัสดิการ สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งผู้หญิงต้องได้รับการปฏิบัติอย่างให้กียรติและเท่าเทียมในฐานะที่ ผู้หญิงก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม

 

วันสตรีสากล (International Women’s Day) มีความสำคัญอย่างไร?

วันสตรีสากล  ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี (อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) โดยเกิดขึ้นจากการประท้วงของแรงงานหญิงที่ได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูด รีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน

ประวัติ,ความเป็นมาของ วันสตรีสากล 2013 (International Women’s Day)

สำหรับความเป็นมาของวันสตรีสากล เกิดจากเหตุการณ์ที่โรงงานทอผ้าในรัฐนิวยอร์ก ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ. 2400) โดยคนงานที่เป็นกรรมกรสตรีได้ลุกฮือประท้วงเพื่อให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และได้ร้องเรียนถึงสิทธิที่เธอควรจะได้รับ แต่เหตุการณ์กลับลุกลามบานปลายยิ่งขึ้นเมื่อมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกรรมกรสตรีเหล่านี้ชุมนุมอยู่ ทำให้มีผู้หญิงเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ถึง 119 คน

ต่อมาในปี คศ. 1907 เหล่ากรรมกรหญิงโรงงานทอผ้าที่ชิคาโก ได้ลุกขึ้นประท้วงเนื่องจากทนไม่ได้จากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างในด้านต่างๆ เช่น

  • การถูก กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส
  • พวกเธอทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด
  • ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว
  • ได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด
  • และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก

จนเมื่อ “คลาร่า เซทคิน” นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ได้ทำการปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยมีการเรียกร้องให้นายจ้างดำเนินการเหล่านี้เช่น

  • ลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง
  • มีการปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง
  • ให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

แต่การปลุกระดมครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ และทำให้แรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่เหตุการณ์นี้ก็เป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกได้ตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น จนท้ายที่สุดในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 (พ.ศ. 2453) มีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ

  • ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง
  • ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง
  • และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน

พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ “คลาร่า เซทคิน” ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล

 

ขอเป็นกำลังใจให้กับสตรีทุกท่านนะครับ 🙂

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.