ลานเบียร์ ผิดตามมาตรา 32 กฏหมายแอลกอฮอล์?

หลังจากที่มีประเด็นดาราโพสต์รูปเบียร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนเป็นประเด็นดังในสังคมแล้ว วันนี้ เริ่มมีประเด็นว่า “ลานเบียร์” ที่มักจะมีการจัดขึ้นในช่วงหน้าหนาวปลายปีทุกปี จะเข้าข่ายผิดกฎหมายแอลกอฮอล์ตามมาตรา 32 หรือไม่? วันนี้ Zcooby ขอนำเอาข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

โดยเนื้อหาของมาตรา 32 ในพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีเนื้อหาดังนี้

มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม

การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง

ซึ่งประเด็นลานเบียร์เข้าข่ายผิดกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เร่ิมต้นจาก นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีแนวคิดที่ว่า กิจกรรมลานเบียร์ การนำกลยุทธ์มิวสิค มาร์เก็ตติ้งเข้ามาใช้ อาทิ ในรูปแบบของการเป็นสปอนเซอร์ จัดคอนเสิร์ต มิวสิคเฟสติวัล เป็นกิจกรรมเหล่านี้เข้าข่ายการกระทำผิด ตามมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยพ่วงมาตรา 30 เข้าไปด้วยครับ

เนื้อหาของมาตรา 30 ในพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีเนื้อหาดังนี้

มาตรา 30 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะ ดังต่อไปนี้

    • (1) ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ
    • (2) การเร่ขาย
    • (3) การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
    • (4) ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการการชิงโชค การชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อหรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
    • (5) โดยแจก แถม ให้ หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่น หรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
    • (6) โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ

สรุปประเด็นของ “ลานเบียร์” ที่อาจเข้าข่ายผิดตามมาตรา 32 (ประกอบมาตรา 30)

  1. นักร้องนักแสดง ชักจูงให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการ
  2. สื่อประชาสัมพันธ์ ที่มีความสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์
  3. สาวเชียร์เบียร์ ชักจูงใจลูกค้า
  4. กิจกรรมลดแลกแจกแถม

หากมีความคืบหน้า ทางเราจะนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากอีกนะครับ

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.