ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากน้อยแค่ไหน?

หลังจากที่มีข่าวเกี่ยวกับ วัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 หายจากโรงไฟฟ้าเอกชน จ.ปราจีนบุรี ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดจะมีการแถลงข่าวในบ่ายวันนี้ (14 มีนาคม 2566) ทาง Zcooby จึงขอนำเสนอในเรื่องนี้ว่า ซีเซียม-137 คืออะไร? และมีอันตรายมากน้อยแค่ไหน?

ซีเซียม-137
ซีเซียม-137

ซีเซียม-137 คืออะไร?

Cesium-137 (ซีเซียม-137, Cs-37) คือ ไอโซโทปของซีเซียมซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีครึ่งชีวิต (half-life) 30 ปี สลายโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา กลายเป็นแบเรียม-137

ซีเซียม-137 เป็นโลหะอ่อนสีขาวเงินที่สามารถตีเป็นรูปร่างได้ง่าย ซีเซียมเป็นหนึ่งในธาตุโลหะ 3 ธาตุ (ซีเซียม แกลเลียม และปรอท) ที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิใกล้กับ อุณหภูมิห้อง คือ 28 องศาเซลเชียส

ซีเซียมเป็นคำที่มาจากภาษาละติน “Caesius” ซึ่งหมายถึงสีน้ำเงิน (ท้องฟ้า) ซีเซียมที่อยู่ในรูปแบบของสารกัมมันตรังสีที่รู้จักกันมากที่สุด คือ ซีเชียม-137 (cesium-137) ที่รู้จักกันดี รองลงไปคือ ซีเซียม-134 (cesium-134)

ซีเซียม-137 มีความสำคัญมากกว่าซีเซียม-134 ในด้านการใช้เป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากมีความแรงรังสีสูง ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความหนาของวัสดุ เครื่องวัดการไหลของของเหลว ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีเพื่อรักษามะเร็ง
นอกจากนี้ซีเซียม-137 ยังพบอยู่ในฝุ่นกัมมันตรังสี และถือเป็นเป็นสารเปรอะเปื้อนตัวหนึ่งในสิ่งแวดล้อม


ใครเป็นผู้ค้นพบซีเซียมและซีเซียม-137 ?

ในปี พ.ศ. 2403 กุสตาฟ เคอร์ซอฟฟ์ และโรเบิร์ต บุนเซน ค้นพบซีเซียมจากธรรมชาติ ในตัวอย่างน้ำแร่ที่ได้จากเดอร์คไฮม์ในประเทศเยอรมนี

ส่วนซีเซียม-137 ที่เป็นสารกัมมันตรังสีและสารกัมมันตรังสีตัวอื่นๆ ที่ใช้ในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้มีการค้นพบในปี พ.ศ. 2470 โดย เกลนน์ ที่. ที่. ซีบอร์ก และผู้ร่วมงานของเขา คือ มาร์กาเร็ต เมลเฮส


ซีเชียม-137 มาจากไหน?

ซีเซียมที่ไม่เป็นสารกัมมันตรังสีมีปรากฏอยู่เพียงไอโซโทปเดียว คือ ซีเซียม-133 ตามธรรมชาติพบรวมอยู่เพียงปริมาณเล็กน้อยในแร่ชนิดต่างๆ น้ำทะเล ห้วย ลำธาร และในร่างกายมนุษย์

ส่วนซีเชียม-137 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีเกิดได้เมื่อยูเรเนียมและพลูโทเนียมดูดกลืนอนุภาคนิวตรอนแล้วเกิดปฏิกิริยา
ฟิชชันซึ่งพบได้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ การแบ่งแยกนิวเคลียสของยูเรเนียมและพลูโทเนียมในปฏิกิริยาฟิชชันก่อให้เกิดผลผลิตจากฟิชชัน (Fission Product) มากมาย ซีเซียม-137 เป็นหนึ่งในผลผลิตจากฟิชชันเหล่านั้น


ซีเซียม 137 เข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้อย่างไร?

ซีเซียม-137 ในสิ่งแวดล้อมมาจากตันกำเนิดหลายชนิด แต่ที่ใหญ่ที่สุดและมาจากต้นกำเนิดเดียวคือ ฝุ่นกัมมันตรังสีหรือ fallout จากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศ ในช่วงทศวรรษของปี พ.ศ.2490 และ 2500 ซึ่งทำให้เกิดมีการกระจายและสะสมของซีเซียม-137 ไปทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามซีเซียม-137 จำนวนดังกล่าวก็สลายตัวไปมากกว่า 1 ครึ่งชีวิต


ซีเซียม-137 ทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร?

ซีเซียม-137 เป็นสารกัมมันตรังสีเมื่อสลายตัวจะปลดปล่อยอนุภาคบีตา และรังสีแกมมาที่มีพลังงานสูงพอสมควร ซีเซียม-137 สลายตัวไปเป็นแบเรียม-137m ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียง 2.5 นาที แล้วแบเรียม-137m จะสลายตัวให้แบเรียมที่ไม่เป็นสารกัมมันตรังสี ครึ่งชีวิตของซีเซียม-137 คือ 30.17 ปี

ด้วยสมบัติทางเคมีตามธรรมชาติของซีเซียมทำให้เข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่าย ดังนั้นเป็นการยากที่จะทำความสะอาด


คนทั่วไปได้รับหรือสัมผัสซีเซียม-137 ได้อย่างไร?

เราทุกคนได้รับซีเซียม-137 ในปริมาณที่น้อยมาก จากดินและน้ำ อันเนื่องมาจากฝุ่นกัมมันตรังสีในบรรยากาศ ในซีกโลกภาคเหนือปริมาณรังสีเฉลี่ยในหนึ่งปีที่ได้รับจากซีเชียม-137 ที่มากับฝุ่นกัมมันตรังสีมีคำน้อยกว่า 1 มิลลิเรม คำาปริมาณรังสีนี้จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ทุกๆ ปี เนื่องมาจากซีเซียม-137 สลายตัว

ประชาชนอาจได้รับรังสีแกมมาจากซีเซียม-137 ถ้าหากเดินผ่านบริเวณที่มีการเปรอะเปื้อน อาจสัมผัส หายใจ หรือดื่ม เมื่อคนผู้นั้นอยู่ในบริเวณที่มีการเปรอะเปื้อน รวมทั้งอาจจับถือตันกำเนิดซีเซียม-137 ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งมีความแรงรังสีสูงโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้อีกด้วย


ซีเซียม-137 เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?

น้ำดื่ม หรือสูดดมฝุ่น ถ้าชีเซียม- 137 เข้าไปในร่างกายคนเราอาจได้รับซีเซียม-137 จากอาหารและมันก็จะกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอตลอดเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย เป็นผลให้เนื้อเยื่อเหล่านั้นได้รับรังสี จากการวิจัยพบว่าจะมีปริมาณของโลหะสะสมที่กล้ามเนื้อมากกว่าบริเวณอื่นเล็กน้อย และพบการสะสมน้อยกว่าในกระดูกและไขมัน เมื่อเปรียบเทียบ
เวลาการตกค้างอยู่ในร่างกายเทียบกับสารกัมมันตรังสีตัวอื่นพบว่าซีเซียม-137 มีเวลาสั้นมากโดยจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ

นอกจากนี้คนเรายังรับรังสีจากซีเซียม-137 จากภายนอกร่างกายได้โดยรับจากรังสีแกมมาที่ได้จากการสลายตัวของ
ซีเซียม-137จากภายนอกร่างกาย


ผลของซีเซียม-137 ที่มีต่อสุขภาพ

ซีเซียม-137 ก็เหมือนกับสารกัมมันตรังสีตัวอื่นๆ การได้รับรังสีที่แผ่มาจากซีเซียม137 มีผลทำให้
อัตราการเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วทุกๆคนจะได้รับรังสีจากซีเซียม137 ที่มาจากในดิน
และน้ำ อันเนื่องมาจากฝุ่นกัมมันตรังสี แต่ได้รับในปริมาณที่น้อยมาก การได้รับรังสีที่มาจากกาก
กัมมันตรังสีในบริเวณที่เปรอะเปื้อนหรือจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็น
มะเร็งมากกว่าการได้รับรังสีที่มาจากสิ่งแวดล้อมทั่วๆไป

คณะกรรมการป้องกันอันตรายจากรังสีแห่งชาติของอังกฤษทำนายว่า จะมีประชาชนในแถบยุโรป
ตะวันตกของกลุ่มที่ได้รับฝุ่นกัมมันตรังสีจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นที่เซอร์โนบิล เป็นโรคมะเร็ง อัน
เนื่องมาจากซีเซียม137 เพิ่มมากขึ้นถึง 1,000 คน

ในช่วงเวลาอีก 70 ปีต่อจากนี้ไปบุคคลใดถ้าได้รับปริมาณรังสีสูงมากๆ จะทำให้เกิดการใหม้ของผิวหนังอย่างรุนแรง ซึ่งอาจมีผลทำให้เสียชีวิตได้ แต่โอกาสแบบนี้เกิดขึ้นได้น้อยมาก ตัวอย่างหนึ่งของเหตุการณ์ที่ประชาชนอาจได้รับรังสีเป็นปริมาณสูงมากๆ ได้แก่ การหยิบจับต้นกำเนิดรังสีซีเซียม-137 ชนิดใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแรงรังสีสูงมาก ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์สุขภาพขึ้นอยู่กับสภาวะของการได้รับรังสีตามปัจจัยขนาดความรุนแรงและอันตรายที่จะเกิดต่อ
ความแรงของต้นกำเนิดต่างๆ ดังนี้

  • เวลาในการได้รับรังสี
  • ระยะทางจากต้นกำเนิดรังสี
  • เครื่องกำบังรังสีระหว่างตัวบุคคลกับต้นกำเนิดรังสี

การป้องกันตัวเองจากชีเชียม-137

เราแทบจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการที่จะได้รับซีเชียม-137 ที่แพร่กระจายในสิ่งแวดล้อม ดังเช่นในกรณีฝุ่นกัมมันตรังสีจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศ แต่ค่อนข้างโชคดีที่การแพร่กระจายนี้ เราจะได้รับซีเซียม-137 ในปริมาณที่น้อยมาก

กรณีการได้รับรังสีจากซีเชียม-137 จนถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสจึงเป็นไปได้ยาก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือประชาชนขาดความรู้เข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับรังสี โดยเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพรับซื้อและขายของเก่า เศษเหล็ก และโลหะต่างๆ โรงงานหลอมและหล่อโลหะ บุคคลที่มีอาชีพหาของจากที่ทิ้งขยะในเมืองใหญ่


ที่มา : นิวเคลียร์ปริทัศน์

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.