Circuit Breaker (เซอร์กิตเบรกเกอร์) คืออะไร? คำศัพท์น่ารู้วงการหุ้น

ในแวดวงตลาดหุ้นเมื่อวันสองวันที่ผ่านมา คำว่า Circuit Breaker (เซอร์กิตเบรกเกอร์) เป็นที่ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในช่วงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่า คำๆ นี้คืออะไร? มีที่มาอย่างไร?

Circuit Breaker คืออะไร?

Circuit Breaker (อ่านว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์) คือ การหยุตการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นการชั่วตราว ใช้สำหรับกรณีที่สภาวะการซื้อขายมีความผันผวนอย่างรุนแรง ราคาหลักทรัพย์โดยรวมเปลี่ยนแปลงลดลงมาก

โดยเซอร์กิตเบรกเกอร์ จะเกิดขึ้นเพื่อให้นักลงทุนมีเวลาในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างครบถ้วน

ที่มาของคำว่า Circuit Breaker

จริงๆ แล้ว คำว่า Circuit Breaker หมายความถึง สะพานไฟ,คัตเอาท์ หรือ ตัวตัดวงจร โดยเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตัดตอนแหล่งจ่ายไฟออกจากวงจรไฟฟ้า เช่น ตัดวงจรไฟฟ้าภายในบ้านออกจากแหล่งจากไฟภายนอกเป็นต้น

นอกจากทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าเมื่อผู้ใช้สั่งการแล้ว ยังทำหน้าที่ตัดการจ่ายไฟโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีเหตุ ไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด ไฟรั่ว ไฟตก ไฟเกิน ได้แล้วแต่ความสามารถของสะพานไฟที่ใช้

เงื่อนไข Circuit Breaker ของตลาดหุ้นไทย

โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะหยุตทำการซื้อขายโดยอัตโนมัติ
เป็นการชั่วคราว ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 เมื่อดัชนีเปลี่ยนแปลงลดลงถึง 10% ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า
    ตลาตหลักทรัพย์จะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งหมดเป็นเวลา 30 นาที
  • ครั้งที่ 2 เมื่อดัชนี เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 20% (ลดลงอีก 10%) ของค่าดัชนีปิดในวัน
    ทำการก่อนหน้า ตลาดหลักทรัพย์จะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง

และหลังจากการทำงานครั้งที่ 2 ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) แล้ว
ตลาตหลักทรัพย์จะเปิตให้ทำการซื้อขายต่อไป จนถึงเวลาปิดทำการตามปกติ โตยไม่มีการ
หยุดพักการซื้อขายอีก

ทั้งนี้หากระยะเวลาในรอบการซื้อขายที่ Circuit Breaker ทำงานนั้นเหลือไม่ถึง 30 นาที
หรือ 1 ชั่วโมง ก็ให้หยุดพัก การซื้อขายเพียงระยะเวลาที่เหลือในรอบการซื้อขายนั้นแล้วเปิด
ให้ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติในรอบ การซื้อขายถัดไป

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.