วิธีเช็คภาพตัดต่อหรือค้นหารูปที่เหมือนกันบน Facebook หรือเว็บอื่นๆ แบบง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน

สำหรับผู้ที่ใช้งานเว็บไซต์อาจจะเคยเจอปัญหาหนึ่งก็คือ “รูปบางรูปเป็นรูปตัดต่อหรือรูปจริง” ซึ่งในปัจจุบัน เราจะได้เห็นว่า มีภาพจำนวนมากที่ผ่านการตัดต่อ เพื่อบิดเบือนข้อมูล ให้ร้าย หรือแม้กระทั่งดิสเครดิต รวมทั้งการหวังผลทางการเมือง และภาพเหล่านั้น หลายครั้งก็เป็นต้นเหตุความขัดแย้งมากมายในสังคม วันนี้ Zcooby ขอแนะนำทิปง่ายๆ ในการตรวจสอบว่า “ภาพนั้นเป็นภาพตัดต่อหรือไม่?” หรือคุณอาจจะแค่อยากทราบว่า “มีรูปภาพที่เหมือนกับรูปนี้ในเว็บไซต์อื่นๆ หรือไม่?” ซึ่งสองเรื่องนี้ คุณสามารถใช้เทคนิคเดียวกันได้ครับ โดยวิธีการตรวจสอบนั้นง่ายซะจนคุณอาจจะไม่เชื่อก็ได้ครับ

ค้นหารูปตัดต่อ

วิธีเช็คภาพตัดต่อหรือค้นหารูปที่เหมือนกันบน Facebook หรือเว็บอื่นๆ แบบง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน

ขั้นแรก ให้คุณใช้โปรแกรมท่องเว็บ (Web Browser) อย่าง Google Chrome (ถ้ายังไม่มีให้ดาวน์โหลดที่ลิ้งค์นี้ครับ ดาวน์โหลด Chrome แล้วทำการติดตั้งตามปกติครับ)

ขั้นที่สอง ให้คุณไปยังรูปภาพที่คุณต้องการจะตรวจสอบว่า เป็นรูปปลอมหรือรูปตัดต่อ หรืออยากรู้ว่า มีรูปที่เหมือนกับรูปนี้ที่เว็บอื่นหรือไม่? เช่น ผมไปเจอรูปนี้ (รูปข้างล่าง) อยากรู้ว่า เป็นรูปที่มีที่เว็บไหนอีก หรือรูปนี้ มีภาพอื่นๆ ที่อยู่ในชุดนี้อีกหรือไม่?

เสร็จแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย ให้คูณคลิ้กขวาบนรูปภาพที่คุณต้องการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมครับ แล้วเลือกที่ “Search Google for this image” ซึ่งเป็นคำสั่งให้ค้นหาภาพนี้จาก Google ครับ

เมื่อเสร็จแล้ว จะมีหน้าที่แสดงผลการค้นหา ตามรูปด้านล่างนี้ครับ

จะเห็นได้ว่า แค่รูปๆ เดียว เมื่อใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ จะทำให้ทราบได้ว่า รูปในภาพคือภูเขาโยชิโน่ (Yosino Mt.) ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นจุดชมซากุระที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นครับ 

ซึ่งวิธีการง่ายๆ แค่นี้ คุณก็จะสามารถทราบได้ว่า

  • ภาพที่คุณได้รับนี้ ผ่านการตัดต่อมาหรือไม่?
  • ภาพที่เห็นนั้นเป็นรูปจากสถานที่ใด? (กรณีเป็นภาพวิวหรือสถานที่ท่องเที่ยว)
  • ภาพที่เห็นนั้นเป็นรูปของใคร? (กรณีเป็นภาพบุคคล)
  • ภาพที่เห็นนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่? (กรณีเป็นภาพจากข่าวหรือเหตุการณ์ต่างๆ)
  • มีรูปภาพนี้อยู่ที่เว็บไหนบ้าง?
  • ช่วยในการค้นหาภาพอื่นๆ ที่อยู่ในชุดนั้นๆ จากเว็บไซต์อื่นได้
  • ช่วยค้นหาภาพที่ต้องการนี้ ที่มีขนาดไฟล์ใหญ่ขึ้น มีความละเอียดมากขึ้น เพราะบางครั้งรูปที่เราได้มา ผ่านการปรับแต่ง ย่อรูปมาแล้วก็ได้ครับ
  • ช่วยในเรื่องของการเช็ตข้อมูลว่า เนื้อหากับรูปภาพที่ได้รับเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่? (กรณีก่อนหน้านี้ที่ผ่านมา ก็มีเรื่องที่มีการนำรูปเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำร้ายผู้หญิงใส่ชุดชั้นในสีฟ้า โดยมีบางคนให้ข่าวว่า เป็นตำรวจของไทยทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งความเป็นจริงแล้วมันเป็นเหตุการณ์ตำรวจในประเทศอียิปต์กำลังเข้าจับกุมผู้ชุมนุมครับ)

อ้อ แล้วก็คุณสามารถนำวิธีตรวจเช็คภาพต่างๆ นี้ได้กับทุกรูปที่ปรากฎบนโลกอินเทอร์เน็ตได้เลยครับ ไม่เฉพาะแต่เพียงแค่ facebook เท่านั้นครับ

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.