ละมุน ยมะคุปต์ คือใคร? ประวัติของหนึ่งในบุคคลสำคัญของวงการนาฎศิลป์ไทย

ละมุน ยมะคุปต์ เป็นชื่อของการค้นหาแรกใน Google วันนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าเขาคือใคร วันนี้ Zcooby ขอนำเสนอประวัติ,ผลงานที่น่าสนใจของ ละมุน ยมะคุปต์ ที่ถือได้ว่า เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของวงการนาฎศิลป์ไทย

ละมุน ยมะคุปต์ คือใคร?

ละมุน ยมะคุปต์ (หรือ ลมุล ยมะคุปต์) ถือได้ว่า ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของวงการนาฎศิลป์ไทย ซึ่งถือได้ว่า เป็นครูนาฏศิลป์คนแรกในการวางหลักสูตรการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย โดยท่านเป็นผู้ร่างหลักสูตรให้แก่วิทยาลัยนาฏศิลป ซึ่งนับว่าท่านเป็นครูนาฏศิลป์คนแรกในการวางหลักสูตรการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย ทำให้การเรียนนาฏศิลป์มีระบบ มีขั้นตอนในการฝึกหัด นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ท่านฝากไว้แก่แผ่นดิน

โดยเป็นผู้ที่มีผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำ ที่ประดิษฐ์ให้กรมศิลปากรในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เช่น รำแม่บทใหญ่ รำซัดชาตรี รำวงมาตรฐาน ฯลฯ ซึ่งในการคิดค้นท่ารำนั้น บางท่ารำครูละมุนสามารถนำเอาท่ารำของนาฏศิลป์เพื่อนบ้านมาดัดแปลงประดิษฐ์ขึ้นใหม่ได้อย่างแนบเนียนกลมกลืน ซึ่งเป็นแนวคิดและกลวิธีที่ครูนาฏศิลป์ในรุ่นต่อๆ มาได้นำมาใช้เป็นแบบอย่าง

วันนี้ (2 มิถุนายน 2560) ถือว่าเป็นวันเกิดปีที่ 112 ของคุณลมุล ยมะคุปต์ ทาง Google จึงได้นำชื่อของท่านมาไว้ในหน้าแรกของการค้นหากูเกิ้ลวันนี้ครับ

ประวัติ ละมุน ยมะคุปต์

ชื่อจริง : ละมุน ยมะคุปต์

เกิด : 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448

พื้นเพ : เป็นชาวจังหวัดน่าน เป็นธิดาของร้อยโทนายแพทย์จีน อัญชัญภาติกับนางคำมอย

ครอบครัว : สมรสกับ นายสงัด ยมะคุปต์ มีบุตรธิดทั้งหมด 13 คน

เสียชีวิต : 30 มกราคม พ.ศ.2526

อายุรวม : 77 ปี   7 เดือน   28 วัน

จุดเริ่มต้นทางด้านนาฎศิลป์ของท่านเริ่มต้นจาก บิดาพาไปถวายตัวเป็นนางละคร ณ วังสวนกุหลาบ เริ่มฝึกหัดนาฏศิลป์ตั้งแต่อายุ 5 ขวบและย้ายไปศึกษาด้านละครใน ณ วังเพชรบูรณ์

ผลงานด้านการแสดง ท่านแสดงเป็นตัวเอกเกือบทุกเรื่อง เพราะมีฝีมือเป็นเยี่ยม บทบาทที่ท่านเคยแสดง เช่น พระสังข์ เขยเล็ก เจ้าเงาะ ฮเนา ซมพลา พระวิษณุกรรม พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร อุศเรน อิเหนา สียะตรา วิหยาสะกำ อุณรุท พระราม พระลอ พระมงกุฎ อินทรชิต พระนารายณ์ พระคเณศ สมิงพระราม พระไวย พลายบัว พระพันวษา เป็นต้น

1 มิถุนายน 2560 เป็นวันครบรอบวันเกิดปีที่ 112 ของครูลมุล ยมะคุปต์

ผลงานของ ละมุน ยมะคุปต์

ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งครู ครูพิเศษ และตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากรนั้น ท่านได้ถ่ายทอดท่ารำสำคัญ และในขณะเดียวกัน ได้ประดิษฐ์คิดค้นท่ารำที่งดงามยิ่งไว้มากมายเกินกว่าที่จะนำมากล่าวได้ครบถ้วน หากจะนำมาเฉพาะเรื่องสำคัญและเป็นสารัตถประโยชน์ ดังนี้

ประเภท “รำ”

  1. รำแม่บทใหญ่ พ.ศ. 2478 ร่วมคิดการแสดงชุดนี้กับนางมัลลี คงประภัศร์ ใช้ประกอบการแสดงละครเรื่อง “สุริยคุปต์” หลังจากนั้นได้ขออนุญาตพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณการต) จัดเป็นหลักสูตรใช้สอนในโรงเรียนนาฏศิลป์ตราบเท่าทุกวันนี้ (ท่ารำแม่บทใหญ่) เดิมเป็นท่านิ่งท่านได้ประดิษฐ์ท่าเชื่อมหรือที่เรียกว่า “ลีลา” เป็นประบวนรำขึ้น
  2. รำซัดชาตรี ร่วมคิดท่ารำกับนางมัลลี (หมัน) คงประภัศร์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากท่าซัดไหว้ครูชาตรี
  3. รำวงมาตรฐาน ร่วมคิดท่ารำกับจมื่นมานิตย์เรศ (เฉลิม เศวตนันท์)
  4. ต้นวรเชษฐ์ ร่วมคือท่ารำกับนางมัลลี (หมัน) คงประภัศร์ และหม่อมต่วน ภัทรนาวิก (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก)
  5. รำเถิดเทิง คิดขึ้นเมื่อครั้งไปเผยแพร่นาฏศิล์ไทย ณ สหภาพพม่า เมื่อปี 2498
  6. รำกิ่งไม้เงินทองถวายพระพร ร่วมคิดกับนางเฉลย ศุขะวณิช จัดแสดงเนื่องในวาระสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ปี พ.ศ.2525 นางสาวปราณี สำราญวงศ์ ประพันธ์บท

ประเภท “ระบำ”

  1. ระบำกินนรรำ จากบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง จันทกินรี โดยร่วมคิดท่ารำกับนางเฉลย ศุขะวณิช
  2. ร่วมคิดท่ารำกับหม่อมต่วน ภัทนาวิก (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) เพื่อใช้ประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอนลมหอบ
  3. ระบำกฤดาภินิหาร ร่วมคิดท่ารำกับหม่อมต่วน ภัทรนวิก เพื่อใช้ประกอบ การแสดงละครเรื่อง เกียรติศักดิ์ไทย
  4. ระบำพม่า-มอญ ใช้ประกอบการแสดงละครเรื่องราชาธิราช ตอนกระทำสัตย์ ณ โรงละครศิลปากร ประมาณปี พ.ศ.2496
  5. ระบำกลอง ร่วมกับนางผัน โมรากุล ผู้ประพันธ์เพลง คือหลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปะบรรเลง)
  6. ระบำฉิ่ง ร่วมกับนาง ผัน โมรากุล ผู้ประพันธ์เพลง คือหลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปะบรรเลง)
  7. ระบำพม่าไทยอธิษฐาน เนื่องในโอกาสเดินทางไปเผยแพร่นาฏศิลป์ไทย ณ สหภาพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2498
  8. ระบำนกยูง ร่วมกับนางผัน โมรากุล เมื่อครั้งไปหัดละครของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉิลมเขตมงคล
  9. ระบำม้า ร่วมกับนางผัน โมรากุล เมื่อครั้งไปหัดละครของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตมงคล
  10. ระบำสวัสดิรักษา ทำขึ้นในโอกาสเป็นที่ปรึกษาของนางสำเนียง วิภาตะศิลปิน
  11. ระบำโบราณคดี ชุด ทวารวดี ศรีวิชัย เชียงแสน ลพบุรี ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช ในขณะที่นายธนิต อยู่โพธิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร
  12. ระบำเริงอรุณ เมื่อกรมศิลปากรจัดแสดงแสดงโขน ชุด ศึกวิรุณจำบัง พ.ศ. 2492
  13. ระบำฉิ่ง (ฉิ่งทิเบต) ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช จัดแสดงครั้งแรกในงาน “น้อมเกล้า” ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2524
  14. ระบำกรับ ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช จัดแสดงครั้งแรกในงานเลี้ยงรับรองคณะโครงการเรือเยาวชน ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2524
  15. ระบำกลอง เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้จัดแสดงในงานดนตรีไทยมัธยมศึกษา ในครั้งนี้ นายปฐมรัตน์ ถิ่นธรณี เป็นผู้ปรับทำนองเพลง

ประเภท “ฟ้อน”

  1. ฟ้อนเงี้ยว คิดขึ้นเมื่ออยู่เชียงใหม่ โดยได้รับแบบอย่างมาจากพวกเงี้ยว (ไทยใหญ่) และนำท่ารำของชาวเชียงใหม่เข้าผสมผสานดังที่ยึดถือเป็นแบบอย่างในการแสดงตราบกระทั่งทุกวันนี้
  2. ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน คิดขึ้นตามพระกระแสรับสั่ง พระราชชายา เจ้าดารารัศมี โดยนำท่ารำของภาคกลางเข้าปรับปรุงให้งดงามขึ้น
  3. ฟ้อนแพน ร่วมกับนางมัลลี (หมัน) คงประภัศร์ เมื่อปี พ.ศ.2477
  4. ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ดัดแปลงท่ารำของพม่า มาปรับปรุงขึ้นเมื่อครั้งอยู่เชียงใหม่
  5. ฟ้อนแคน ร่วมคิดกับนางเฉลย ศุขะวณิช เมื่อปี พ.ศ.2518

ประเภท”เซิ้ง”

  1. เซิ้งสัมพันธ์ ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช จัดแสดงครั้งแรกในวาระที่รัฐบาลไทยจัดงานต้อนรับ ฯพณฯ เติ้ง เสี่ยวผิง รองนายกรัฐมาตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2521
  2. เซิ้งสราญ ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช โดยดัดแปลงมาจากชุดฟ้อนแคน แสดงครั้งแรกในรายการเสาร์สโมสร เมื่อ พ.ศ.2525

สมัยที่ ฯพณฯ หลวงวิจิตรวาทการ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านได้ประพันธ์บทละครปลุกใจไว้หลายเรื่อง เช่น เลือดสุพรรณ เจ้าหญิงแสนหวี อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง อานุภาพแห่งความรัก อานุภาพความเสียสละ ซึ่งมีระบำประกอบเพลงสลับฉากหลายชุดได้มีส่วนร่วมในการคิดประดิษฐ์ท่ารำทุกชุด ดังเช่น ชุดระบำเชิญพระขวัญ, ระบำชุมนุมเผ่าไทย, ระบำบายศรี, ระบำใต้ร่มธงไทย, ระบำนกสามหมู่,ระบำชุดในน้ำมีปลาในนามีข้าว, ระบำเสียงระฆัง ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ให้ท่ารำของตัวเอกตัวประกอบ โดยร่วมกับหม่อมต่วน ภัทรนาวิกและนางมัลลี (หมัน) คงประภัศร์

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.