พระครูบาบุญชุ่ม คือใคร? พร้อมประวัติของ พระครูบาพ่อบุญชุ่ม ญาณสํวโร

ชื่อของ “พระครูบาบุญชุ่ม” เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างมากในช่วงนี้ หลังจากมีเหตุการณ์นักเตะเยาวชนและโค้ชทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 ราย ที่ติดอยู่ในวนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา วันนี้ Zcooby ขอนำเสนอประวัติที่น่าสนใจของ “พระครูบาบุญชุ่ม” มาฝากครับ

พระครูบาบุญชุ่ม คือใคร?

พระครูบาบุญชุ่ม หรือ “พระครูบาพ่อบุญชุ่ม ญาณสํวโร” แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน เป็นพระเกจิดังล้านนาซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธหลายประเทศทั้ง ไทย ลาว เมียนมา จีน และ ประเทศภูฏาน

ประวัติพระครูบาบุญชุ่ม

พระครูบาบุญชุ่ม เกิดวันอังคารที่ 5มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ขึ้น 3 ค่ำ เดือน  4 เป็นบุตรของ พ่อคำหล้า แม่แสงหล้า ทาแกง ชื่อเดิมคือ เด็กชายบุญชุ่ม ทาแกง

สถานที่เกิดหมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีพี่น้องดังนี้

  1. พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร
  2. พระครูบาวีนัส กตปุญโญ
  3. เด็กหญิงเอื้องฟ้า (เสียชีวิต)
  4. นางอ้อมใจ ปูอุตรี สมรสกับนายประทีบ ปูอุตรี

 

ในช่วงวัยเด็ก ได้บวชเรียนตามปณิธานที่ตั้งไว้ตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2519 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ณ วัดศรีบุญยืน ต.ศรีดอนมูล (ป่าถ่อน) อ.เชียงแสน จ.เชียงราย มีพระครูหิรัญเขตคณารักษ์ วัดศรีบุญเรือง เจ้าคณะอำเภอเชียงแสน เป็นพระอุปัชฌาย์

ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่บวชเป็นสามเณร ได้สร้างธรรมนุสรณ์จากการอนุโมทนาบุญของพุทธศาสนิกชนหลายแห่ง เช่น สร้างพระธาตุดอยเวียงแก้ว ที่วัดพระธาตุดอยวังแก้ว ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน, พระธาตุดอยเวียงแก้ว พระธาตุงำ พระธาตุดอยดอกคำ พระธาตุจอมสวรรค์บ้านโปร่ง ต.เมืองพง ประเทศพม่า พระธาตุจอมยอง เมืองยอง ประเทศพม่า ฯลฯ

กระทั่ง พ.ศ.2529 ได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศเนปาล ได้รับเมตตาธรรมจาก หลวงปู่โง่น โสรโย จ.พิจิตร ไปส่งที่สนามบิน ได้พบพุทธศาสนิกชนในต่างแดน ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างขัดสน และมีวิถีชีวิตแปลกๆ พระครูบาบุญชุ่มได้แผ่เมตตาและแนะนำให้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิตสืบไป

ทั้งนี้ เคยมาธุดงค์อยู่ที่ถ้ำผาไทย อ.งาว จ.ลำปาง โดยมีศรัทธาชาวบ้านแวะเวียนมากราบไหว้ และมีชาวบ้านเคยเรียนท่านว่า มีอีกถ้ำหนึ่งมีน้ำไหลผ่าน ท่านจึงเสาะหาจนเจอถ้ำราชคฤห์และได้บำเพ็ญเพียร เปิดโอกาสให้สาธุชนเข้ากราบไหว้อยู่ที่ถ้ำราชคฤห์มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี

ซึ่งเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 60 ที่ผ่านมา พระครูบาบุญชุ่มได้เดินทางไปที่ เมืองสาด รัฐฉาน เพื่อเข้าปฏิบัติธรรมกรรมฐานตลอดพรรษา ที่ถ้ำเมืองแกส เป็นถ้ำห่างจากเมืองสาด ประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณก่อนเข้าถ้ำจะมีพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวเดินทางมารอกราบพระครูบาบุญชุ่ม เป็นจำนวนมาก ซึ่งพระครูบุญบาบุญชุ่ม ได้นำสวดมนต์พร้อมทั้งให้พร สร้างความอิ่มเอมใจให้กับพุทธศาสนิกชนอย่างทั่วหน้า โดยตลอดพรรษา 3 เดือน ที่พระครูบาบุญชุ่มปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ท่านจะไม่พูดอะไรเลย

กระทั่งวันที่ 26 ต.ค. 2560 ที่ผ่านมา พระครูบาบุญชุ่ม พร้อมพระลูกศิษย์อีก 20 รูป ได้เดินทางมาร่วมในพิธีกรรมทางศาสนา ในการสวดพระพุทธมนต์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการถวายดอกไม้จันทน์ ที่ซุ้มถวายดอกไม้จันทน์ ภายในวิหารหลวง สำนักปฏิบัติธรรมพระธาตุดอยเวียงแก้ว ซึ่งได้สร้างความแปลกใจให้กับผู้มาร่วมถวายดอกไม้จันทน์ ที่ได้เห็นพระครูบาบุญชุ่ม ครองผ้าจีวรสีพระราชนิยม (สีเหลือง) สร้างความแปลกใจแก่ทุกคนเป็นอย่างมาก เนื่องจากถือเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ท่านบวชเป็นพระมากว่า 30 พรรษา ท่านจะครองผ้าจีวรสีกรักมาตลอด ทั้งนี้เพราะพระครูบาถือว่าสีเหลืองเป็นสีประจำในหลวงรัชกาลที่ 9 และตลอดเวลาพระครูบาบุญชุ่มหลับตานั่งสมาธิไม่เปล่งวาจาใดๆ ทั้งสิ้น

นอกจากนี้ พระครูบายังได้อยู่ร่วมพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยขณะที่พระครูบาบุญชุ่มปฏิบัติธรรมในถ้ำช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน ท่านได้เขียนหนังสือธรรมะ 1 เล่ม เพื่อแสดงความอาลัยถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตอนนี้ท่านได้ให้มูลนิธิโอ.เค ไลฟ์ พิมพ์หนังสือธรรมะเล่มนี้เผยแพร่ แจกฟรีเป็นธรรมทานอีกด้วย

ลำดับการจำพรรษาตอนเป็น สามเณรบุญชุ่ม ทาแกง

พ.ศ. ๒๕๑๙

  • พรรษาที่ ๑ จำที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน
  • พรรษาที่ ๒ จำที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน
  • พรรษาที่ ๓ จำที่วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน
  • พรรษาที่ ๔ จำที่วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  • พรรษาที่ ๕ จำที่วัดจอมแจ้งบ้านกวดขี้เหล็ก อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
  • พรรษาที่ ๖ จำที่วัดจอมแจงที่เดิม
  • พรรษาที่ ๗ จำที่วัดเมืองหนอมป่าหมากหน่อ บ้านห้วยน้ำราก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
  • พรรษาที่ ๘ จำที่วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอนเมืองพง พม่า
  • พรรษาที่ ๙ จำที่วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอนเมืองพง พม่า
  • พรรษาที่ ๑๐ จำที่วัดอนันทกุฏีวิหาร กรุกัฏมันฑุ ประเทศเนปาล รวมปีที่บรรพชาเป็นสามเณรทั้งหมด ๑๐ พรรษา

ผลงานศาสนสถานต่างๆ

พ.ศ. ๒๕๑๙ จำพรรษาที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน

  • ได้สร้างพระวิหารวัดบ้านด้ายและกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง

พ.ศ. ๒๕๒๐ จำพรรษาที่วัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน

พ.ศ. ๒๕๒๑ จำพรรษาที่วัดพระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน

  • ได้สร้างพระธาตุดอยเวียงแก้ว ตำบลศรีดอนมูล
  • ได้สร้างพระธาตุงำเมืองท้าววังนั่ง ตำบลเมืองพง พม่า

พ.ศ. ๒๕๒๒ จำพรรษาที่วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

  • ได้สร้างพระธาตุดอยดอกคำ ตำบลเมืองพง พม่า
  • ได้สร้างพระธาตุจอมยอง เมืองยอง พม่า
  • ได้สร้างพระธาตุจอมสวรรค์บ้านโปร่ง และดอยเวียงหว้า ตำบลเมืองพง พม่า

พ.ศ. ๒๕๒๓ จำพรรษาที่วัดจอมแจ้งบ้านกวดขี้เหล็ก อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

  • ได้สร้างศาลาและแท่นแก้วพระธาตุจอมพง พม่า

พ.ศ. ๒๕๒๔ จำพรรษาที่วัดจอมแจ้งที่เดิม

  • ได้สร้างพระธาตุจอมศรีดับเภมุง เมืองพง พม่า

พ.ศ. ๒๕๒๕ จำพรรษาที่วัดเมืองหนอมป่าหมากหน่อ บ้านห้วยน้ำราก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

  • ได้สร้างพระธาตุวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ. ๒๕๒๖  จำพรรษาที่วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอน เมืองพง พม่า

  • ได้สร้างศาลาเก้าห้องและกุฏิสงฆ์ วัดพระนอน วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุง พม่า

พ.ศ. ๒๕๒๗ จำพรรษาที่วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอนเมืองพง พม่า

  • ได้สร้างวิหารพระเจ้านอน เมืองพง พม่า และสร้างแท่นแก้ววัดแม่คำบัว แท่นแก้ว พระเจ้านอนวัดพระธาตุ จอมศรีดับเภมุงเมือง บ้านทุง พม่า

พ.ศ. ๒๕๒๘  จำพรรษาที่วัดอนันทกฏิวิหาร กรุกัฏมันฑุ ประเทศเนปาล

  • ได้สร้างพระวิหารพระธาตุดอนเรือง พม่า และสร้างแท่นแก้ว วัดปากว๋าว ตำบลห้วยไคร้

พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้เดินทางไปปฏิบัติธรรม ณ ประเทศเนปาลในครั้งนี้ ได้รับเมตตาธรรมจาก หลวงปู่โง่น โสรโย จ.พิจิตร ไปส่งที่สนามบิน ได้พบพุทธศาสนิกชนในต่างแดน ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างขัดสนและมีวิถีชีวิตแปลกๆ ท่านได้แผ่เมตตาและแนะนำให้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว และเสริมสิริมงคลแก่ชีวิตสืบไป

ลำดับการจำพรรษาหลังการอุปสมบท

  • พ.ศ. ๒๕๒๙ พรรษาที่ ๑ จำที่วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอน เมืองพง พม่า
  • พ.ศ. ๒๕๓๐ พรรษาที่ ๒ จำที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า
  • พ.ศ. ๒๕๓๑ พรรษาที่ ๓ จำที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า
  • พ.ศ. ๒๕๓๒ พรรษาที่ ๔ จำที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ พรรษาที่ ๕ จำ ณ สวนพุทธอุทยาน ใกล้พระธาตุดอนเรือง
  • พ.ศ. ๒๕๓๔ พรรษาที่ ๖ จำ ณ ห้วยดอนเรือง ใกล้พระธาตุดอนเรือง
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ พรรษาที่ ๗ จำ ณ ดอยป่าไม้เปา ใกล้พระธาตุดอนเรือง
  • พ.ศ. ๒๕๓๖ พรรษาที่ ๘ จำ ณ ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ พรรษาที่ ๙ จำ ณ ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ พรรษาที่ ๑๐ จำ ณ ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่
  • พ.ศ. ๒๕๓๙ พรรษาที่ ๑๑ จำ ณ ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง ระหว่างเมืองแฮะ-เมืองขัน
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ พรรษาที่ ๑๒ จำ ณ ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง ระหว่างเมืองแฮะ-เมืองขัน เขตหว้าแดง
  • พ.ศ. ๒๕๔๑ พรรษาที่ ๑๓ จำ ณ ถ้ำผาจุติง ประเทศภูฐาน
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ พรรษาที่ ๑๔ จำ ณ ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง ระหว่างเมืองแฮะ-เมืองขัน เขตหว้าแดง
  • พ.ศ. ๒๕๔๓ พรรษาที่ ๑๕ จำ ณ ถ้ำน้ำตก เมืองแสนหวี สีป้อ ชายแดนพม่า กับประเทศจีน
  • พ.ศ. ๒๕๔๔ พรรษาที่ ๑๖ จำ ณ ถ้ำน้ำตก เมืองแสนหวี สีป้อ ชายแดนพม่า กับประเทศจีน
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ พรรษาที่ ๑๗ จำ ณ ถ้ำผาจุติง ประเทศภูฐาน
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ พรรษาที่ ๑๘ จำ ณ กองร้อยทหารตระเวณชายแดน เมืองปูนาคา
  • พ.ศ. ๒๕๔๗ พรรษาที่ ๑๙ จำ ณ กองร้อยทหารตระเวณชายแดน เมืองปูนาคา
  • พ.ศ. ๒๕๔๘ พรรษาที่ ๒๐ จำ ณ ถ้ำผาแดง บ้านล่อม ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

รวมจำนวนพรรษาที่บวชเป็นพระภิกษุทั้งหมด ๒๐ พรรษา

พระพุทธรูปและศาสนสถานที่ได้สร้างไว้

พ.ศ. ๒๕๒๙ จำพรรษาวัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอน เมืองพง (พม่า)

  • สร้างกุฏิสงฆ์ญาณสํวโรอนุสรณ์ วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า

พ.ศ. ๒๕๓๐ จำพรรษาที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า

  • สร้างศาลาเก้าห้องพระธาตุดอนเรือง

พ.ศ. ๒๕๓๑ จำพรรษาที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า

  • สร้างพระวิหารวัดป่าสา และกุฏิสงฆ์ห้อยน้ำรุกถวาย อุทิศให้โยมพ่อคำหล้า

พ.ศ. ๒๕๓๒ จำพรรษาที่วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า

  • สร้างอุโบสถวัดพระธาตุดอนเรือง พม่า
  • สร้างแท่นแก้ววัดบ้านป่าข่า พม่า

พ.ศ. ๒๕๓๓ จำพรรษา ณ สวนพุทธอุทยาน ใกล้พระธาตุดอนเรือง

  • สร้างพระวิหารวัดบ้านโปร่ง ตำบลเมืองพง
  • สร้างปราสาทเก้าชั้น ที่พักสงฆ์พระธาตุดอนเรือง พม่า

พ.ศ. ๒๕๓๔ จำพรรษา ณ ห้วยดอนเรือง ใกล้พระธาตุดอนเรือง

  • สร้างวิหารบ้านทุ่ง และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำป่าข่า ตำบลเมืองพง พม่า

พ.ศ. ๒๕๓๕ จำพรรษา ณ ดอยป่าไม้เปา ใกล้พระธาตุดอนเรือง

  • สร้างศาลาใหญ่วัดพระธาตุดอนเรือง และสร้างพระธาตุจอมหลวยปูตับ
  • สร้างวิหารพระเจ้าอินทร์สานวัดพระะาตุดอนเรือง พม่า ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ และสร้างพระธาตุถ้ำผาเรือง อำเภอแม่สาย

พ.ศ. ๒๕๓๖ จำพรรษา ณ ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่

  • สร้างพระธาตุดอยตุงคำ พระธาตุงำเมืองป่าข่า เป็นครั้งที่สอง

พ.ศ. ๒๕๓๗ จำพรรษา ณ ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่

  • สร้างพระธาตุวัดเชียงเจืองเมืองแจ่สิบสองปันนา และแท่นแก้ว วิหารวัดบ้านจ้อง ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย
  • สร้างพระธาตุจอมสิงห์ เมืองยู้ พม่า
  • สร้างพระแท่นแก้ววัดป่าคาแม่เงิน อำเภอเชียงแสน พระธาตุจอมคำ จอมแก้ว บ้านป่ากุ๊ก และวิหารวัดบ้านนา วัดหัวขรัว
  • สร้างโบสถ์ยอดปราสาทกลางน้ำ วัดบ้านทุ่ง ตำบลเมืองพง และสร้างวิหารวัดสามปู เมืองพง พม่า

พ.ศ. ๒๕๓๘ จำพรรษา ณ ถ้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่

  • สร้างพระธาตุสบพง พระธาตุกำลัง บ้านมูเซอ เชียงตุง สร้างพระธาตุวังลาว พนะธาตุบ้านแม่คำหนองบัว อำเภอเชียงแสน, พระธาตุบ้านม่วงคำ, พระธาตุดอนแท่น บ้านห้วยผึ้ง ประเทศลาว, พระธาตุซุ้มพระเจ้า ๑๑๒ องค์ที่พระธาตุทันใจ ตำบลเมืองพง, สร้างพระธาตุเจ้าองค์ปฐม บ้านหัวขัว พม่า, และศาลาหลวงปู่ครูบาธรรมชัยอนุสรณ์ วัดพระธาตุดอนเรือง

พ.ศ. ๒๕๓๙ จำพรรษา ณ ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง ระหว่างเมืองแฮะ เมืองขัน เขตหว้าแดง

  • วางศิลาฤกษ์ พระธาตุหลักคำ (หลัก กม. ๒๔๐) เขตชายแดน ๓ ประเทศ คือ จีน – หว้าแดง – พม่า

พ.ศ. ๒๕๔๐ จำพรรษา ณ ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง ระหว่างเมืองแฮะ เมืองขัน เขตหว้าแดง

  • ก่อฐานรากพระพุทธหลักคำ (หลัก กม. ๒๔๐)
  • บูรณะพระธาตุจอมยอง เมืองยอง ประเทศพม่า
  • บูรณะพระธาตุเก่าแก่ใกล้บ้านป่าสา
  • บูรณะอุโบสถวัดพระเจ้าทองทิพย์ เชียงราก ประเทศลาว
  • โปรดลูกศิษย์ เมืองลง เมืองเชียงรุ้ง เมืองฮาย ประเทศจีน

พ.ศ. ๒๕๔๑ จำพรรษา ณ ถ้ำผาจุติง ประเทศภูฐาน

  • ก่อสร้างพระธาตุหลักคำ (หลัก กม. ๒๔๐) หลัก กม. เขตชายแดนจีน – หว้าแดง – พม่า
  • บูรณะวัดบ้านด้าย อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
  • ก่อสร้างศาลา พระเจ้าอินทร์สาน วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง จังหวัดท่าขี้เหล็ก
  • บูรณะพระธาตุดอยตุงคำ เมืองพง จังหวัดท่าขี้เหล็ก
  • บูรณะพระธาตุจอมหงษ์ เมืองพง จังหวัดท่าขี้เหล็ก

พ.ศ. ๒๕๔๒ จำพรรษา ณ ถ้ำพระพุทธบาทผาช้าง เมืองแฮะ – เมืองขัน เขตหว้าแดง

  • ฉลองพระธาตุหลักคำ (หลัก กม. ๒๔๐)
  • ก่อสร้างศาลา พระเจาอินทร์สาน วัดพระธาตุดอนเรือง
  • บูรณะวัดบ้านด้าย อ.เชียงแสน เชียงราย
  • ก่อสร้างศาลา ดอยยางคำ
  • บูรณะพระธาตุจอมหงษ์

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.