“ปลดออก” = ลาออก หรือ ไล่ออก ? กรณีลงโทษข้าราชการ

หลังจากที่มีข่าวทางคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยร้ายแรง มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้ลงโทษ “ปลดออก” แทนการ “ไล่ออก” กรณีนายสุภัฒ สงวนดีกุล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ก่อคดีลักภาพวาดในโรงแรมที่ประเทศญี่ปุ่น หลายคนอาจจะสงสัยว่า โทษปลดออก ต่างจากไล่ออกอย่างไร?

“ปลดออก” = ลาออก หรือ ไล่ออก ?

ในกรณีของ ลงโทษ “ปลดออก” แทนการ “ไล่ออก” นายสุภัฒ สงวนดีกุล นั้น นายสุภัฒจะยังมีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ รวมถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย

ซึ่งเมื่อตรวจสอบ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน มาตรา 97 วรรคสี่ระบุว่า “ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ”

ส่วนการลงโทษ “ไล่ออก” หรือ “โทษให้ออก” นั้น ผู้ถูกลงโทษ จะไม่ได้บำเหน็จ บำนาญหรือสืทธิประโยชน์อะไร

เพราะฉะนั้น

“ปลดออก” = “ลาออก” = ยังมีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ,รักษาพยาบาล

 

Be the first to comment

Leave a comment

Your email address will not be published.


*


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.